หน้าแรก

จากแนวโน้มทิศทางการทำเกษตรกรรมของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปจากการเกษตรแบบเดิม สู่การเกษตรสมัยใหม่ และการเกษตรอัจฉริยะที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ประกอบกับอนาคตของภาคเกษตรไทย กำลังเผชิญกับสภาวะการขาดแคลนแรงงาน เกษตรกรเข้าสู่วัยสูงอายุซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการเกษตรไทยเป็นอย่างมาก เกษตรกร/ผู้ประกอบการ จึงค้นหาเทคโนโลยีนวัตกรรมหรือเครื่องจักรกลนำมาใช้ในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น รวมทั้งลดต้นทุนและแรงงานเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าได้

กระทรวงเกษตรฯ--เดินหน้าแปลงทดลอง-003.jpg

ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่การเกษตรอัจฉริยะหรือ Smart Agriculture ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตทางการเกษตรสอดคล้องกับการพัฒนาที่มุ่งสู่ เกษตร 4.0 เพื่อทำให้อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ดี และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะมาปรับใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภายใต้การผสมผสานการทำงานระหว่างโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ของกรมการข้าว และโครงการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้วยระบบ Laser (Laser land leveling) รถแทรกเตอร์แบบไร้คนขับ (Unmanned Tractor) ทำงานด้วยระบบดาวเทียมที่ได้รับการสนับสนุนจาก Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น และการสนับสนุนสัญญาณดาวเทียมจาก GISTDA และรถดำนาด้วยระบบอัตโนมัติ (Auto Guidance & Steering)เป็นต้น

กระทรวงเกษตรฯ--เดินหน้าแปลงทดลอง-004.jpg

โดยมีพื้นที่แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ 4 แห่ง คือ แปลงผลิตมันสำปะหลังอยู่ที่ จ.นครราชสีมา และ จ.กำแพงเพชร ส่วนแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตข้าว อยู่ที่จ.กำแพงเพชร และ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งหากมิตรชาวไร่ท่านใดสนใจอยากศึกษาข้อมูลหรือทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 02-2815955 (ในวัน-เวลาราชการ)

ขอบคุณที่มา: https://kasettumkin.com

ข่าวปักหมุด