หน้าแรก

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีผลผลิตด้านเกษตรกรรมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับปลูกพืชนานาชนิด อีกทั้งสภาพอากาศที่อบอุ่นมีแสงแดดตลอดทั้งปี ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศเกษตรกรรมไปโดยปริยาย

พืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง สับปะรด และอื่น ๆ อีกหลายชนิด เพื่อการติดตามและสำรวจพื้นที่เกษตรกรรมของทั้งประเทศ เทคโนโลยีดาวเทียมจึงถูกนำมาใช้งานด้านเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง

โดยทั่วไปแล้วประเทศไทยนำเทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อติดตามสถานการณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งผลกระทบรุนแรงในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำของประเทศ การวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก การบุกรุกป่าไม้ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ และการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น รวมถึงการติดตาม และประเมินความเสียหายของพื้นที่จากภัยพิบัติ การออกแบบระบบสื่อสารสำรองในภาวะภัยพิบัติ ด้วยการบูรณาการภาพถ่ายดาวเทียมร่วมกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินการตามภารกิจดังกล่าวเป็นตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ และวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลที่มี รวมถึงสร้างคลังข้อมูลสำหรับใช้ในการตรวจสอบในด้านทรัพยากรธรรมชาติ

จุดเด่นของดาวเทียมคือ ภาพที่รับจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเหล่านี้ มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากภาพ ที่ได้จากกล้องถ่ายภาพธรรมดาหลายประการ สามารถทำได้รวดเร็ว มีความผิดพลาดน้อย และราคาถูก นอกจากนั้นยังสำรวจได้ในพื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งมีการเพาะปลูกมาก และอาจนำมาใช้ประกอบกับการสำรวจแบบอื่น เพื่อทำแผนที่เกษตรได้อีกด้วย

IMG_6284.JPG

ปัจจุบันจึงนำเทคโนโลยีการสำรวจจากดาวเทียมมาใช้ด้านการเกษตรอย่างกว้างขวาง เป็นต้นว่า ข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของดิน ความชื้นของดิน ระดับน้ำใต้ดิน ดินเค็ม การพังทลายของดิน รวมทั้งพันธุ์พืชที่เหมาะสม สำหรับดินในภาคต่าง ๆ ของประเทศ การใช้ที่ดินให้เหมาะสม และสภาพความแห้งแล้ง ข้อมูลเหล่านี้ช่วยเลือกพันธุ์พืชปลูกได้อย่างถูกต้อง ซึ่งภาพถ่ายจากดาวเทียมสามารถช่วยให้เกษตรกรแยกแยะช่วงอายุของพืชออกจากกันได้ ซึ่งจะทำให้สามารถประเมินผลผลิตที่เกิดจากการเกษตรได้เป็นอย่างดี

เทคโนโลยีดาวเทียมที่เราหลายคนคุ้นเคยกันดีคือ Google Map ที่ช่วยค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ ซึ่ง Google Map ก็จัดเป็นระบบ Satellite หรือดาวเทียมนั่นเอง

ปัจจุบันระบบดาวเทียมสามารถถ่ายรูปได้ชัดถึงเฉดสีที่ระบุได้ถึงแร่ธาตุสภาพดินและความพร้อมของดิน ในเวลาเดียวกันระบบดาวเทียมยังช่วยในการวางแผนเพาะปลูกที่แม่นยำรวมไปถึงการบริหารจัดการด้านการเก็บเกี่ยวและผลผลิต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการเพาะปลูกของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณที่มา

https://www.trueplookpanya.com/

https://sites.google.com/

https://csrs.ku.ac.th/

http://gmos.gistda.or.th/

 

 

 

ข่าวปักหมุด