หน้าแรก

ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ถูกนำเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคน ซึ่งมีจำนวนน้อยลง หายาก และประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง นี่จึงเป็นที่มาของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเกษตร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถช่วยควบคุมต้นทุนการผลิตได้

โดรนการเกษตร เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางหลายด้าน เช่น พ่นปุ๋ยและให้อาหารเสริม วางแผนการเพาะปลูก ถ่ายภาพแปลงปลูกพืชเพื่อสังเกตการเจริญเติบโต และสำรวจผลผลิต เป็นต้น

สำหรับวันนี้มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ได้รวบรวม 4 กิจกรรมในไร่อ้อยที่ใช้โดรนทำงานมาฝากมิตรชาวไร่ จะมีกิจกรรมอะไรบ้างไปติดตามกันค่ะ

  1. การประเมินผลผลิตอ้อย (Field Practice Solutions : FPS) ใช้เก็บ ข้อมูลแบบ Real-Times และนำไปประมวลผลเพื่อช่วยลดต้นทุน คุ้มค่า และ มีประสิทธิภาพสูง การใช้โดรนในการวางแผนการทำงานในที่นี้คือ สำรวจ พื้นที่เพื่อวางแผนการปลูกอ้อย สำรวจการเจริญเติบโตของอ้อยเพื่อนำมาคาดการณ์ผลผลิต เข้าสู่กระบวนการตัดอ้อยตามความสุกแก่ของแต่ละแปลง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมายอย่างแม่นยำโดยใช้วิธีติดกล้อง Multispectral ใช้วัดความสูงพื้นดินวัดความสูงและความหนาแน่นของอ้อย ประเมินผลผลิต และค่า Brix
  2. การฉีดพ่นให้ปุ๋ยทางใบ (Foliar Fertilizer) เป็นการให้ปุ๋ยทางใบอ้อย เพื่อสามารถให้ปุ๋ยได้อย่างทั่วถึง จากเดิมมิตรชาวไร่อาจมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ไม่สามารถให้ปุ๋ยได้อย่างทั่วถึง เช่น ต้นอ้อยที่สูงจนเกินไป และช่วงเวลา ที่มีจำกัด อย่างช่วงเวลาของการให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อให้ได้ผลดีควรให้ในช่วง 6.00-9.00 น. เพราะเป็นเวลาที่พืชกำลังเปิดปากใบ ทำให้สามารถดูดซึม อาหารผ่านปากใบได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านราก แต่ก็จะต้องทำในเวลารวดเร็ว โดรนเพื่อการเกษตรจึงช่วยได้มาก เพราะประหยัดเวลามากกว่าการใช้แรงงาน คนหลายเท่า การทำงานของโดรนสามารถทำงานได้ 100-200 ไร่/วัน
  3. การฉีดพ่นสารควบคุมวัชพืช (Weed control) ช่วยให้มิตรชาวไร่ สามารถดูแลและรักษาอ้อยได้อย่างตรงจุด ตัวอย่างเช่น โดรน 1 ลำสามารถ ฉีดพ่นพืชไร่อย่างอ้อยได้จำนวน 150-300 ไร่ต่อวัน โดยใช้แรงงานมาควบคุม เพียง 1-2 คนเท่านั้น ขณะที่ถ้าใช้แรงงานคนอย่างเดียว จะต้องใช้คนกว่า 10-20 คน และที่สำคัญยังช่วยลดการฟุ้งกระจายของสารเคมีที่มิตรชาวไร่อาจได้รับทั้งจากการสัมผัส และสูดดมเวลาฉีดพ่นอีกด้วย เรียกได้ว่าทั้งสะดวก และปลอดภัยเลยทีเดียว
  4. การฉีดพ่นสารเร่งการสุกแก่ให้กับอ้อย (Ripener) เป็นวิธีการเพิ่มค่าความหวานของอ้อย เพื่อเพิ่มรายได้จากค่า C.C.S. ที่เพิ่มขึ้น การฉีดพ่นด้วยโดรนใช้เวลาเพียง 5-15 นาทีต่อไร่ สามารถทำงานได้ 150-300 ไร่ต่อวัน การใช้โดรนทำให้ประหยัดเวลา สามารถใช้ที่เหลือไปบริหารจัดการงานส่วน อื่นได้อีกด้วย

จะเห็นว่ากิจกรรมในไร่อ้อยทั้ง 4 กิจกรรมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อนำโดรนเพื่อการเกษตรเข้ามาประยุกต์ใช้ นอกจากจะช่วยลดปัญหาการใช้แรงงานคนที่ลดน้อยลง ยังช่วยควบคุมต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โดรนเพื่อการเกษตรเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการเกษตรในปัจจุบัน ไม่เฉพาะแต่ในไร่อ้อย แต่สำหรับเกษตรทุกด้าน และเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

ที่มาข้อมูล-ภาพ : วารสารมิตรชาวไร่

https://mgronline.com/

 

 

 

ข่าวปักหมุด