หน้าแรก

สวัสดีค่ะพี่น้องมิตรชาวไร่ทุกท่าน ปิดหีบอ้อยประจำฤดูกาลผลิตปี 2564/65 อย่างเป็นทางการแล้วนะคะ ใครที่ตัดอ้อยช่วงปลายหีบ ช่วงนี้ก็ต้องเร่งซ่อมอ้อยและบำรุงตอกันด้วยนะคะ เพราะการปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตสูง อ้อยจะต้องมีเปอร์เซ็นต์การงอกที่สูงด้วยค่ะ

ดังนั้นช่วงนี้ต้องหมั่นตรวจเช็กอ้อยที่กำลังจะงอก และถ้าพบบริเวณที่อ้อยไม่งอกห่างกันเกิน 1–1.5 เมตร อ้อยบริเวณข้างเคียงจะไม่สามารถชดเชยผลผลิตได้ ควรปลูกซ่อมภายใน 30 วันหลังปลูกหรือหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้อ้อยที่ปลูกซ่อมเจริญเติบโตทันอ้อยปลูกปกติค่ะ

แต่การซ่อมอ้อยมักไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมาก และดินต้องมีความชื้นที่เหมาะสมทำให้เวลาในการซ่อมไม่ทันเวลา เนื่องจากต้องรอฝนบ้าง จึงทำให้อ้อยที่ซ่อมเจริญเติบโตไม่ทัน และมีต้นทุนการซ่อมอ้อยที่สูง

วันนี้มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขอนำเสนอเครื่องซ่อมอ้อยอัตโนมัติแบบ ALL IN ONE สามารถทำได้หลายงานจบในขั้นตอนเดียว เป็นเครื่องซ่อมอ้อยแบบติดท้ายรถแทรคเตอร์ เพื่อลดการใช้แรงงาน ลดต้นทุุน และลดขั้นตอนในการซ่อมอ้อย โดยการทำงานแบบเบ็ดเสร็จในเครื่องเดียว การซ่อมอ้อยนั้นเราใช้เทคโนโลยีประเมินปริมาณอ้อยที่ต้องการจะซ่อมด้วย UAV และการใช้เชื้อ PGPR เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของอ้อยที่จะซ่อม ทำให้อ้อยที่ซ่อมมีการเจริญเติบโตได้ทันอ้อยปกติ ดังนั้นเมื่อใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานดังกล่าวในการซ่อมอ้อยแล้วจะสามารถเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนขึ้นได้

003.jpg

หลักการทำงานของเครื่องซ่อมอ้อย

  1. ประเมินสภาพแปลงด้วยภาพถ่าย UAV เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนของพื้นที่ที่ต้องการซ่อมแซมและประเมินความเหมาะสมในการซ่อม
  2. กรณีพื้นที่ดินทราย จะใช้เชื้อราเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) ชนิดผงผสมกับน้ำหยอดเพื่อป้องกันด้วงหนวดยาวและปลวกอ้อย
  3. ใช้ผานสับใบอ้อย (กรณีอ้อยตอตัดสด) เนื่องจากปัญหาหลักในการซ่อมอ้อย คือใบอ้อยเก่า และใช้ Ripper ระเบิดดินพร้อมเปิดร่องเพื่อหยอดท่อนอ้อย เนื่องจาก ดินแข็งและมีตออ้อยเก่าอยู่
  4. ระบบน้ำหยอดเพื่อเพิ่มความชื้นในดิน
  5. Seed cane loader บรรจุุท่อนพันธุ์อ้อย 2-3 ตา เพื่อซ่อม
  6. เครื่องควบคุุมการใส่ปุ๋ย โดยการผสมปุ๋ยเคมีรองพื้น 50 กิโลกรัมผสมกับเชื้อ PGPR อัตรา 14 กิโลกรัมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของอ้อยที่ซ่่อม
  7. เครื่องพ่นสารควบคุุมวัชพืช เนื่องจากอ้อยที่ซ่อมอาจเกิดวัชพืชได้ง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อยที่ซ่อม

003.jpg

จากการทดสอบในระดับแปลงใหญ่ พบว่าการซ่อมอ้อยโดยใช้เครื่องซ่อมอ้อยร่วมกับการใช้ UAV และ PGPR สามารถเพิ่มผลผลิตของอ้อยได้ และแปลงที่มีการใช้เทคโนโลยีซ่อมอ้อยสามารถไว้ตอเพิ่มได้ทุุกแปลง โดยท่อนอ้อยที่ใช้ซ่อม 2-3 ตา/ท่อน จะให้เปอร์เซ็นต์การงอกดีที่สุุด ต้นทุุนการซ่อมอ้อยโดยใช้เทคโนโลยีซ่อมอ้อยแบบบูรณาการ 900 บาท/ไร่ (คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ในการซ่อมทั่วไป) การประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดของเครื่องจักรซ่อมอ้อยอยู่ที่ 20 ไร่ต่อวัน โดยรถต้นกำลังในการติดตั้งเครื่องจักรซ่อมอ้อยต้องใช้ 40 - 60 แรงม้า

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เครื่องซ่อมอ้อยอัตโนมัติที่เรานำมาแนะให้รู้จักกันนี้ สุุดยอดไปเลยใช่ไหมคะ ทั้งลดการใช้แรงงานลดต้นทุนและลดขั้นตอนในการซ่อมอ้อย ทำหลายงานได้ในขั้นตอนเดียว คุ้มค่าเลยทีเดียวค่ะ

ที่มา : วารสารมิตรชาไร่-คุุณเทอดพงษ์ คงสนุ่น  นักวิจัยบริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ํำตาล จํากัด

ข่าวปักหมุด