หน้าแรก

สวัสดีค่ะพี่น้องมิตรชาวไร่ แม้ปีนี้ประเทศไทยไม่ได้ประสบปัญหาภัยแล้งเนื่องจากมีฝนตกกระจายอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงฤดูแล้ง แถมสภาพอากาศยังแปรปรวนตลอดเวลา แต่ทว่าโดยภาพรวมแล้วปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้งในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไปและคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้้น เนื่องมาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้เอง โดยอุุณหภููมิของโลกมีค่าเฉลี่ยสููงขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิอากาศของโลก เช่น คลื่นความร้อนปริมาณน้ำฝน และความแห้งแล้ง

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยประสบกับสถานการณ์ภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 ต่อเนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญ (El Niño) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 ถึง 2562 ทำให้ปริมาณน้ำฝนในปีนั้น น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปีถึง 16 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลกระทบแก่การใช้น้ำรวมถึงทำให้ปริมาตรน้ำกักเก็บในเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศลดน้อยลง เขื่อนเก็บน้ำแห้งขอดไม่มีน้ำไหลเข้าเก็บในเขื่อน ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศอย่างรุนแรง

ด้านอ้อยก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรได้รับผลกระทบทำให้ผลผลิตทั้งประเทศลดลงถึง 57% จาก 131 ล้านตันอ้อย เหลือ 74.9 ล้านตันอ้อย ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางด้านการเกษตรของประเทศ

แม้จะเป็นเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาแล้ว แต่บทเรียนในครั้งนั้นแสดงให้เราเห็นว่า การเก็บกักน้ำและการบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อการสร้างแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ของภาครัฐ เช่น อ่างเก็บน้ำเขื่อนสามารถทำได้ยาก เราก็ต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ในอันดับแรก

003.jpg

จากบทเรียนในอดีต กลุ่มมิตรผลจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขึ้นมาในชื่อโครงการ โอเอซิส "บริเวณที่เป็แหล่งน้ำอันอุดมสมบููรณ์กลางทะเลทราย" โดยมีจุดประสงค์เพื่อเก็บปริมาณน้ำที่หลากมาในพื้นที่ในช่วงปลายเดือนกันยายนของทุกปี (Rain Harvesting) ปริมาณ 1 ล้านลบ.ม. โดยน้ำในโครงการนำมาบริหารจัดการครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลประโยชน์กว่า 3,800 ไร่ เป็นเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย 3,000 ไร่ และพืชอื่น ๆ อีก 800 ไร่ โดยมีเกษตรกรผู้รับประโยชน์กว่า 108 ครอบครัว และมีการบริหารจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่แบบครบวงจร ตั้งแต่เตรียมดินปลูกบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวด้วยรถตัดอ้อย โดยผ่านผู้รับเหมาที่มีมาตราฐานตามกำหนด รวมถึงการบริหารจัดการน้ำแบบ automation irrigation ตามหลักมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ซึ่งสามารถสร้างอ้อยกว่า 70,000 ตันต่อปี

เชื่อว่ามิตรชาวไร่ตระหนักดีว่า “น้ำ” หรือชลประทานในไร่อ้อย (Irrigation) เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การทำไร่ตามแบบฉบับมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปกติอ้อยต้องการน้ำประมาณ 1,200-1,600 มิลลิเมตรต่อปี แต่สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทำให้ปริมาณฝนในแต่ละปีอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่เพียงพอ และยังกระจายตัวไม่สม่ำเสมอทำให้อ้อยกระทบแล้งแทบทุกปี ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง เราจึงจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำรองรับเพื่อมีน้ำเสริมอ้อย เพิ่มผลผลิต สร้างกำไรงอกงามเข้ากระเป๋าได้อย่างมั่นใจในทุก ๆ ปีนั่นเอง

ที่มา : วารสารมิตรชาวไร่ โดย คุุณสิทธิชัย ดวงดี วิศวกรชลประทาน

 

ข่าวปักหมุด