สิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ ที่ขุดคุ้ยอยู่ในผืนดิน อย่างไส้เดือนดิน เปรียบเสมือนผู้ช่วยชาวไร่ ที่ทำหน้าที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อระบบนิเวศในดิน สร้างอินทรียสาร และมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ด้วยลักษณะการเคลื่อนที่ชอนไชของไส้เดือน ที่ทำให้ดินร่วนซุยและเกิดช่องว่างในดิน ทำให้ปริมาณออกซิเจนเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ไส้เดือนดินแบ่งเป็นสองประเภทตามสีของลำตัว คือไส้เดือนดินสีเทา และไส้เดือนดินสีแดง ไส้เดือนดินสีเทาที่รู้จักกันดีคือพันธุ์ขี้คู้ ซึ่งเป็นไส้เดือนดินลำตัวเล็ก แต่มีขนาดยาวประมาณ 6-8 นิ้ว มักอาศัยอยู่บนดิน ขุดรูอยู่ในชั้นดินค่อนข้างลึก พบได้ในสวนผลไม้ หรือสนามหญ้า ส่วนไส้เดือนดินสีแดงที่คุ้นเคยกันทั่วไปคือ พันธุ์ขี้ตาแร่ ลำตัวมีสีแดงออกม่วง มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ในมูลสัตว์ หรือกองเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย เห็นตัวเล็ก ๆ แบบนี้ ไส้เดือนดินมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 4-25 ปีเลยทีเดียว
เรียกว่าเล็กพริกขี้หนูจริง ๆ กับเพื่อนชาวไร่ตัวน้อยตนนี้ จากคุณสมบัติข้างต้นที่ไส้เดือนดินมอบประโยชน์ให้ชาวไร่ เราจึงควรดูแลรักษาดินให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น การทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ที่ไม่รบกวนดินมากเกินไป ลดการไถพรวน และปลูกพืชตระกูลถั่ว บำรุงดิน ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยให้โครงสร้างของดินส่วนต่าง ๆ คงสภาพอย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญช่วยให้สหายของชาวไร่อย่างไส้เดือนดินขยายจำนวนประชากร และอาศัยในไร่ของเราต่อไป.
ที่มา