ในยุคหนึ่ง การโคลนนิ่ง เป็นที่ฮือฮามากในสังคมโลก จนถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพยนตร์ให้คนรับรู้ถึงความสามารถของเทคโนโลยีการคัดลอก คน สัตว์ สิ่งของ ที่เหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว จนเรียกว่า โคลนนิ่ง ต่อมาในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเทคโนโลยีฝาแฝดดิจิตอล หรือ Digital Twin ขึ้น เพื่อช่วยคาดการณ์หรือทำนาย ภาวะที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
ดิจิตอล ทวิน (Digital Twin) คือ แบบจำลองเสมือนของวัตถุทางกายภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากการบูรณาการเทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น AI Algorithm, IoT, Cloud Computing และเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างแบบจำลองฝาแฝด ที่สามารถแสดงรายละเอียด และคุณสมบัติเกือบเทียบเท่าวัตถุจริง และยังสามารถแสดงคุณลักษณะในอดีต และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในโลกของ Digital Twin จะมี 2 รูปแบบเสมอ คือ
ดิจิตอล ทวิน (Digital Twin) ที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับวัตถุทางกายภาพมากที่สุดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่แม่นยำ และสามารถตอบสนองการใช้งาน และจุดประสงค์ของผู้ใช้ได้ ไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านระบบคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า การสร้าง Digital Twin สามารถทำได้จากการบูรณาการเทคโนโลยีหลัก 3 ชนิดเข้าด้วยกัน ได้แก่
มิตรชาวไร่คงสงสัยว่า แล้วดิจิตอล ทวิน ที่ว่านี้ นำมาใช้งานในชีวิตจริงได้หรือไม่ อย่างไร? มีผู้ศึกษาเขาได้จำแนกการทำงานของ ดิจิตอล ทวิน ในด้านต่าง ๆ ไว้ดังนี้
จากข้อมูลของ Deloitte ซึ่งเป็นตรวจสอบบัญชีระดับโลก บอกว่า ดิจิตอล ทวิน ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตในหลายด้าน ตัวอย่างเช่น การควบคุมคุณภาพของสินค้า ด้วยคุณสมบัติของ ดิจิตอล ทวิน ที่สามารถคาดการณ์ และตรวจพบแนวโน้มที่อาจเกิดความผิดพลาดระหว่างการผลิต ผู้ใช้งานจึงสามารถทราบถึงปัญหา และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
ในด้านสุขภาพ ดิจิตอล ทวิน ถูกนำมาใช้งานในการสร้างร่างกายเสมือนของผู้ป่วย โดยจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรค และการรักษา รวมถึงพฤติกรรมและการดำเนินของผู้ป่วยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับผู้ป่วยในกรณีที่คล้ายกัน เพื่อค้นหาวิธีรักษาโรค ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในประเทศบราซิล Stara บริษัทผลิตเครื่องจักรรถแทรกเตอร์ก็ประยุกต์เอา ดิจิตอล ทวิน มาใช้ทำให้ธุรกิจการเกษตรมีประสิทธิภาพโดยติด IoT sensor หรือเซนเซอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้กับรถแทรกเตอร์ เพื่อทดสอบคุณภาพของระบบ และตรวจสอบความผิดพลาดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดแก่ไร่ และสามารถปรับปรุงพัฒนากิจกรรมในไร่ได้อย่างดี
ด้วยคุณสมบัติเด่นในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และสามารถตรวจพบความผิดพลาดพร้อมนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพของ ดิจิตอล ทวิน หรือฝาแฝดดิจิทอล ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ ไม่เพียงแค่ในด้านอุตสาหกรรม แต่เป็นการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งด้านสุขภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สำหรับ Smart City การวางผังเมือง แก้ปัญหาจราจร รวมทั้งด้านการเกษตรกรรมอีกด้วย
อนาคตในไม่ช้า คงได้เห็นเทคโนโลยีฝาแฝดเปลี่ยนโลก หรือ ดิจิตอล ทวิน เข้ามาโลดแล่นในการทำงานด้านต่าง ๆ ของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม ซึ่งเมื่อนั้นมิตรผลคงได้นำความฉลาดของเทคโนโลยีเหล่านี้มานำเสนอต่อมิตรชาวไร่อีกครั้งแน่นอนค่ะ.
ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพ
https://www.aware.co.th/digital-twin
https://tuemaster.com/blog
เรียบเรียงโดย ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจอ้อย