- มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม
- จ., 28 ธ.ค. 63
สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ล้วนมีระยะการเจริญเติบโต ตามช่วงวัย โดยเริ่มจากระยะแรกคือ การเกิด การงอก จากนั้นค่อยเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ ตามลำดับขั้น จนถึงระยะสุดท้ายที่สิ้นสุดการเจริญเติบโต โดยพึ่งพาปัจจัยหลายอย่างเพื่อดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
อ้อย แม้จะเป็นพืชที่ปลูกง่าย และเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง แต่การเจริญเติบโตที่ดีของอ้อย ต้องพึ่งพาปัจจัยหลายด้าน อาทิ แสงแดด น้ำ อากาศ ธาตุอาหาร เป็นต้น ซึ่งในแต่ละช่วงวัยของอ้อย มีความต้องการปัจจัยต่าง ๆ มากน้อยตามอายุ เพราะฉะนั้นหากเราจะบำรุงรักษาอ้อยให้ถูกต้องเหมาะสม มิตรชาวไร่ต้องรู้จักระยะการเจริญเติบโตของอ้อยในแต่ละช่วงวัยอย่างดี
ระยะนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งหน่อโผล่พ้นดิน โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ ความหนาของดินที่กลบท่อนพันธุ์ และการปฏิบัติต่อท่อนพันธุ์ เป็นต้น หน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เรียกว่า หน่อแรก (primary shoot) หรือหน่อแม่ (mother shoot) จำนวนท่อนพันธุ์ที่งอกต่อไร่จะเป็นตัวกำหนดจำนวนกออ้อยในพื้นที่แปลงนั้น
การแตกกอ จะเริ่มจากราว ๆ 1.5 เดือน หลังปลูก และ อาจนานถึง 2.5-4 เดือน การแตกกอ เป็นกระบวนการทางสรีรวิทยาของแบบการทำซ้ำภายใต้พื้นดิน โดยแยกออกจากข้อตาที่เป็นหน่อแม่ โดยการแตกกออ้อย ให้มีจำนวนข้อที่เหมาะสม จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี โดยปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อ การแตกกอ มีหลากหลาย ได้แก่ ความชื้นในดิน แสง อุณหภูมิ และปุ๋ย หน่อที่เกิดขึ้น ในช่วงต้นนั้นก่อให้เกิด ลำที่ใหญ่และหนัก แต่หน่อที่เกิดขึ้น ในช่วงปลายจะมีโอกาสทั้งตายหรือ ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะสั้น คือโตไม่เต็มที่เท่านั้น การปลูกอ้อยในระยะการแตกกอนั้น การควบคุม น้ำ และ วัชพืช ที่มีความสำคัญต่อการแตกกอเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแตกกอ ให้มีประมาณหน่อลูกที่เหมาะสม ส่งผลต่อการได้ผลผลิต ต่อไร่ที่ดี
ระยะนี้เป็นระยะต่อเนื่องกับการแตกกอ อ้อยจะมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็ว ทำให้อ้อยทั้งลำต้นเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วด้วย โดยจะเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 3-4 เดือน ถึงอายุประมาณ 7-8 เดือน ซึ่งหลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีลดลง และจะเริ่มมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น
เป็นระยะที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะต่างๆข้างต้น เมื่อการเจริญเติบโตเริ่มช้าลง น้ำตาลที่ใบสร้างขึ้นโดยการสังเคราะห์แสงนั้นจะถูกใช้น้อยลง และมีเหลือสะสมในลำต้นมากขึ้น ซึ่งระยะนี้เป็นการเริ่มต้นของการสุกนั่นเอง การสะสมน้ำตาลนั้นจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย ดังนั้นส่วนโคนจึงมีความหวานมากกว่าส่วนปลาย การสะสมน้ำตาลจะมีมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งทุกส่วน มีความหวานใกล้เคียงกัน เรียกว่า สุก
เมื่ออ้อยเจริญเติบโตเต็มที่ เพราะได้รับการดูแลอย่างถูกต้องในแต่ละความต้องการตามช่วงอายุ ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากอ้อยก็เต็มประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน ในที่นี้ไม่เพียงแต่ประโยชน์ด้านน้ำตาลเท่านั้น หมายรวมถึงประโยชน์ทุกด้านที่ พืชอย่างอ้อยจะมอบให้แก่มนุษย์ได้ ทั้งประโยชน์โดยตรง เป็นอาหารคน อาหารสัตว์ เชื้อเพลิง หรือประโยชน์โดยอ้อมที่แปรสภาพเป็นผลผลิตด้านอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย
ที่มา
http://canethai.blogspot.com/
http://www.siamprocane.com/kn13.html