หน้าแรก

ปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตดี “การจัดรูปแปลงและการวางผังแปลง” นั้นสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ๆ เพราะการวางผังแปลงในการจัดการไร่อ้อยครอบคลุมการใช้งานทั้งแปลงปลูกอ้อยและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด เป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่ ลดการใช้ทรัพยากรทั้งวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน ทำให้ต้นทุนต่อไร่ลดต่ำลง มิตรชาวไร่มีกำไรมากขึ้น อีกทั้งยังเหลือเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ มีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น

หลักสำคัญ-003.jpg

ในที่นี้เราจะมาพูดถึงการเตรียมแหล่งน้ำชลประทานเพื่อให้เพียงพอต่อการปลูกอ้อยตลอดฤดูกาล และในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มเน้นย้ำกับพี่น้องมิตรชาวไร่เสมอในเรื่องการจัดเตรียมพื้นที่รองรับน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของอ้อย โดยใน 1 รอบการผลิตหรือตลอดฤดูกาล อ้อยต้องการน้ำ 1,500 มิลลิเมตร/ปี แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกมาในระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน ของแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 – 1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น

จะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอต่อความต้องการตามช่วงระยะเวลาที่อ้อยจำเป็นต้องใช้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงด้วย ถ้าหากฝนตก 1,000 มิลลิเมตร/ปี อ้อยสามารถนำน้ำฝนมาใช้ได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 600 มิลลิเมตร/ปี และอีก 40 เปอร์เซ็นต์ หรือ 400 มิลลิเมตร ก็จะไหลบ่าลงคลอง แม่น้ำ ซึมลึกเกินเขตของรากอ้อย (Ground Water Recharge) อ้อยไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้

มิตรชาวไร่จึงควรเตรียมดักน้ำเหล่านั้น เช่น ขุดสระ หรือ ดึงน้ำที่ซึมลงดินสะสมขึ้นมาใช้โดยการเจาะบ่อบาดาลน้ำลึก เพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็น และให้น้ำเสริมอ้อยตามปริมาณความต้องการในแต่ละช่วงอายุเพื่อให้อ้อยเจริญเติบโตงอกงาม จากข้อมูลข้างต้น อ้อยต้องการน้ำ 1,500 มิลลิเมตร/ปี หรือ 2,400 ลูกบาศก์เมตร/ไร่/ปี เราต้องจัดหาน้ำเสริมฝนอีก 900 มิลลิเมตร/ปี หรือ 1,440 ลูกบาศก์เมตร/ไร่/ปี

การทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มนั้นมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่สำคัญ ทั้งการจัดรูปแปลง การเตรียมแปลง และการเตรียมน้ำชลประทาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมาก การรอฟ้าฝนอย่างเดียวคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของอ้อย เพราะหากฝนแล้ง อ้อยเราคงแห้งเหี่ยวตายในที่สุด ในทางกลับกันหากเรามีการบริหารจัดการน้ำได้ดี เตรียมน้ำให้เพียงพอต่อการทำไร่ เราไม่ต้องกังวลเรื่องอ้อยกระทบแล้งและยังช่วยให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

 

ข่าวปักหมุด