- มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม
- ศ., 25 พ.ค. 61
สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ทุกท่าน ดูเหมือนว่าปลายฝนปีนี้ อิทธิพลจากมรสุมและพายุหลายลูก เวียนกันเข้าออกโดยรอบประเทศไทยทำให้มีฝนตกสะสมต่อเนื่องจนเกิดอุทกภัยบางพื้นที่ มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขอให้พี่น้องชาวไทยเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และดูแลสุขภาพตัวเองด้วยนะคะ
อย่างไรก็ดี น้ำจะมากหรือน้อย “น้ำ” ก็คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งการปลูกอ้อยตามแบบฉบับเกษตรสมัยใหม่ มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ด้วยหลักสี่เสาพลัส “น้ำหรือระบบชลประทาน” เป็นสูตรเติมเต็มสู่ความสำเร็จของการปลูกอ้อยอย่างแท้จริง
โดยเฉลี่ย อ้อยต้องการน้ำตลอดฤดูกาลประมาณ 1,500 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนที่ตกเฉลี่ยทั้งปีที่ของบ้านเราอยู่ที่ 1,000 มิลลิเมตร ซึ่งถ้าแล้งปริมาณน้ำฝนต้องลดลงแน่นอน ที่เหลือต้องขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าได้วางแผนระบบชลประทานในไร่อ้อยไว้อย่างไร
วันนี้มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขอแนะนำเคล็ดลับอ้อยงามด้วยระบบน้ำหยด ซึ่งระบบการให้น้ำมีหลายประเภทแต่แบบที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดถึง 95 เปอร์เซ็นต์ คือการใช้ระบบน้ำหยดในไร้อ้อย จากแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น สระน้ำ บ่อบาดาล แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เป็นต้น
ระบบน้ำหยดมี 2 ประเภทคือ
ข้อดีของการใช้ระบบนํ้าหยดทั้ง 2 แบบนี้ คือ วัชพืชไม่ขึ้นมารบกวนอ้อยมากนัก เพราะน้ำจะหยดบริเวณกออ้อยเท่านั้น ในขณะที่พื้นที่ระหว่างแถวปลูกจะแห้งจนวัชพืชไม่สามารถงอกและเจริญเติบโตแข่งขันกับอ้อยได้
แน่นอนค่ะว่าการใช้ระบบน้ำหยดมีประสิทธิภาพสูง การลงทุนเลยสูงตามไปด้วย แต่ปัจจุบันมีหลายบริษัทนำเข้ามาจำหน่ายและได้ทำโครงการส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อยใช้ระบบนี้ โดยร่วมมือกับโรงงานนํ้าตาล ซึ่งชาวไร่อ้อยสามารถซื้อระบบเงินผ่อนผ่านโรงงานนํ้าตาลได้ค่ะ
ทั้งนี้ มิตรชาวไร่อย่าลืมนะคะว่า ปัจจัยสำคัญในการให้น้ำเสริมในไร่อ้อยทุกระบบ คือ ต้องมีแหล่งน้ำ จะเป็นน้ำบาดาลหรือการขุดสระ นี่คือสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราจัดการการให้น้ำอ้อยได้อย่างเต็มที่ ในกรณีที่ไม่สามารถติดตั้งระบบชลประทานทุกประเภทได้ อย่างน้อยต้องมีการเตรียมการเพื่อเก็บกักน้ำไว้ในดินให้ได้มากที่สุด ด้วยการใช้ไถระเบิดดินดานไถเตรียมดินในช่วงก่อนที่จะหมดฤดูฝน จะช่วยให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ในใต้ดินได้มากขึ้น ส่งผลให้อ้อยสามารถเจริญเติบโตผ่านช่วงฤดูแล้งได้ และบรรเทาความเสียหายจากการตายแล้งของอ้อยได้มากขึ้นค่ะ ที่สำคัญ ต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมกับขนาดและสภาพพื้นที่ของไร่อ้อยเราด้วยนะคะ.
ขอบคุณที่มา: