หน้าแรก

เมื่อถึงฤดูกาลตัดอ้อยเข้าโรงงานเช่นนี้ สิ่งที่ต้องพูดถึงคือ การวิเคราะห์คุณภาพอ้อยเพื่อใช้คำนวณค่าความหวานของอ้อย ซึ่งต้องอาศัยขั้นตอนการวิเคราะห์คุณภาพน้ำอ้อยและค่าเส้นใยรวม 3 รายการ คือ

1) ค่าโพล (Pol) หรือค่าร้อยละของน้ำตาลซูโครส

2) ค่าบริกซ์ (Brix) หรือค่าปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และ

3) ค่าเส้นใยของอ้อย (%Fiber) หรือค่าปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ

โดยทั่วไปแล้ว การวัดค่าความหวานของอ้อยมีสองหน่วยด้วยกัน คือ องศาบริกซ์ กับ ซี.ซี.เอส. 

องศาบริกซ์ หมายถึง ปริมาณร้อยละของของแข็งที่ละลายได้ ที่มีอยู่ทั้งหมดในน้ำอ้อย ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นน้ำตาลซูโครส หากอ้อยสุกแก่จะมีมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์

ซี.ซี.เอส. (C.C.S. = Commercial Cane Sugar) หมายถึง ปริมาณร้อยละของน้ำตาลซูโครสบริสุทธิ์ (Pure Sucrose) ที่จะสามารถผลิตเป็นการค้าเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งเป็นสูตรคำนวณตามมาตรฐานสากล ใช้คำนวณการหีบอ้อยเอาน้ำตาลที่มีอยู่ทั้งหมดในอ้อยออกมาได้เท่าไหร่

การวิเคราะห์คุณภาพอ้อยต้องเก็บตัวอย่างเพื่อวัดความหวาน โดยเจาะเอาน้ำอ้อยจากลำ หรือ ตัดลำอ้อยตัวอย่างมาสกัดเอาน้ำอ้อย แล้วน้ำอ้อยที่บีบสกัดได้จะถูกนำไปวัดความหวาน โดยปรับอุณหภูมิ จากนั้นวัดค่า Brix และค่า Pol ที่ห้องควบคุมอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ด้วยเครื่อง refractometer และเครื่อง polarimeter ตามลำดับ

การวิเคราะห์คุณภาพอ้อย-00-.jpg

การวัดค่าความหวาน เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อดูความสุกแก่ของอ้อย และเป็นตัวกำหนดราคาอ้อยให้แก่ชาวไร่ ทั้งนี้ค่าความหวานที่วัดได้ควรมีค่าตั้งแต่ 10 ซี.ซี.เอส. ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้จะเรียกว่า อ้อยมีค่าความหวานต่ำ ซึ่งแน่นอนว่า ค่าความหวานอ้อยแปรผันตรงกับราคาอ้อยที่เราจะได้รับนั่นเอง

ขอบคุณที่มา :

http://www.ocsb.go.th/

http://www.mitrpholmodernfarm.com

http://www.h2otester.com/

https://economicalldays.com/

 

ข่าวปักหมุด