มิตรชาวไร่ทุกท่านคะ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ชาวไร่อ้อยมีกิจกรรมที่ต้องทำหลายอย่างพร้อม ๆ กันได้แก่ การเก็บเกี่ยว การบำรุงตออ้อย การปลููกและบำรุงรักษาอ้อยน้ำราด ดังนั้นเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านมักเจอปัญหา ขาดแคลนแรงงานและรถแทรกเตอร์มีไม่เพียงพอต่อการใช้งานวันนี้เรามีวิธีมาแนะนำที่ช่วยแก้ปัญหา ดังกล่าวให้พี่น้องมิตรชาวไร่กันค่ะ
การใช้ “อากาศยานไร้คนขับ” หรือ “โดรน” มาช่วยในกิจกรรมการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชในอ้อยตอ และในอ้อยน้ำราดจึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากประหยัดต้นทุนประหยัดเวลา และประหยัด ทรัพยากร แก้ปัญหาแรงงานทำงานได้ในสภาพแปลงที่เครื่องจักรหรือคนเข้าไปทำงานไม่ได้ ทำงานได้ แบบแม่นยำเฉพาะจุด และปลอดภัยต่อชาวไร่อีกด้วย
อย่างไรก็ตามเนื่องจากโดรนยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ การใช้ให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น ชาวไร่หรือผู้รับเหมาโดรนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกชนิดของสารเคมี อัตรา การผสมและวิธีการฉีดพ่นให้ถููกต้องเพื่อให้การใช้โดรนฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชมีประสิทธิภาพสูงสุดกำจัดวัชพืชได้ดี ไม่เกิดความเป็นพิษต่ออ้อย และไม่กระทบกับพืชในแปลงข้างเคียง
การปลูกอ้อยน้ำราดชาวไร่จะทำการให้น้ำหลังปลููกอ้อยทันที (ปลูกอ้อยในช่วงเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายนเรียกว่า อ้อยตุลาคมหรืออ้อยปลายฝน และปลูกในช่วงเดือน ธันวาคมถึงมีนาคมเรียกว่า อ้อยนน้ำราด) ดังนั้นการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือแบบเดิมเช่น การใช้บูมสเปรย์หรือถังพ่นสะพายหลัง อาจจะมีปัญหาอุปสรรคเนื่องจากดินมีความชื้นสูง ประกอบกับการงอกของวัชพืชในอ้อยน้ำราดจะแตกต่างจากการงอกของวัชพืชในอ้อยปลายฝนเนื่องจาก เมล็ดของวัชพืชในอ้อยน้ำราดที่สะสมบริเวณใกล้ผิวดินจะได้รับความชื้น จากการให้น้ำก่อนท่อนพันธุ์อ้อยและงอกเป็นต้นอ่อนขึ้นมาก่อนอ้อย ดังนั้นการฉีดพ่น สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก (ยาคุม) โดยใช้โดรนจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับ อ้อยน้ำราดมากกว่า
ลักษณะการงอกของวัชพืชและอ้อยที่พบในการปลูกอ้อยแบบน้ำราดมีหลายแบบ เช่น วัชพืชและอ้อยยังไม่งอก วัชพืชงอก แต่อ้อยยังไม่งอก มีวัชพืชใบกว้างและเถาเลื้อย ดังนั้นชาวไร่ควรเลือกชนิดของสารเคมีให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับอ้อย โดยดูได้จากตารางคำแนะนำชนิดของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นด้วยโดรนในอ้อยน้ำราด
ชนิดของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นด้วยโดรนในอ้อยตอ ให้พิจารณาจากลักษณะของแปลงอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวและชนิดของ วัชพืชที่พบ ได้แก่ แปลงอ้อยตัดสดมีเศษซากใบอ้อยคลุมแปลง แปลงอ้อยไฟไหม้หรือตัดสดเผาใบหลังตัดมีวัชพืชใบกว้างหรือ เถาเลื้อย และกิจกรรมบำรุงตอ เช่น ใส่ปุ๋ยบำรุงตอและให้น้ำรายละเอียดชนิดของสารกำจัดวัชพืชและอัตราที่ใช้ในแปลงแต่ละลักษณะ ดังรายละเอียดในตารางคำแนะนำชนิดของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในการฉีดพ่นด้วยโดรนในอ้อยตอ
อย่างที่เราได้แนะนำพี่น้องมิตรชาวไร่ว่าการนำโดรนมาใช้ในไร่อ้อยทำให้ประหยัดต้นทุนประหยัดเวลา และประหยัดทรัพยากรสามารถแก้ปัญหาแรงงานได้ เนื่องจากโดรน 1 ลำสามารถฉีดพ่นพืชไร่อย่างอ้อยได้ จำนวน 150-300 ไร่ต่อวันโดยใช้แรงงานมาควบคุมเพียง 1-2 คนเท่านั้นขณะที่ถ้าใช้แรงงานคนอย่างเดียว จะต้องใช้คนกว่า 10-20 คนและที่สำคัญยังช่วยลดการฟุ้งกระจายของสารเคมีที่มิตรชาวไร่อาจจะได้รับ ทั้้งจากการสัมผัสและสูดดมเวลาฉีดพ่นอีกด้วย เรียกได้ว่าทั้งสะดวกและปลอดภัยด้วยนะคะ
หวังว่าพี่น้องมิตรชาวไร่จะสามารถนำคำแนะนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่และสภาพอ้อยของทุกท่านกันได้นะคะ
ที่มา : วารสารมิตรชาวไร่ โดย คุณวัชรศักดิ์ สุุขเจริญวิภารัตน์ ผู้ชำนาญการอารักขาพืช บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด