หน้าแรก

อ้อย คือพืชไร่ที่มีคุณค่าในหลากหลายมิติ ทั้งต่อเศรษฐกิจและประเทศ ในฐานะชาวไร่อ้อย เราจะเห็นว่า อ้อยมีประโยชน์ต่อทั้งสังคม ชุมชน และสภาพแวดล้อม เราอาจมองภาพของอ้อยเพียงแค่ พืชไร่ที่ปลูกเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ หรือสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว แต่ในมิติอื่น ๆ รู้หรือไม่ว่า อ้อยให้อะไรมากกว่านั้น

ประโยชน์ของอ้อยและมิติของเศรษฐกิจแห่งอนาคต

  1. สร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกร อ้อยสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรกว่า 300,000 ครัวเรือน และได้รับการสนับสนุนเงินส่งเสริมและปัจจัยการผลิตจำนวนมาก
  2. สร้างงานตามมาทั้งทางตรงและทางอ้อม การปลูกอ้อยเกิดการจ้างแรงงานคนงานทั้งทางตรงและทางอ้อมในพื้นที่การทำไร่อ้อย เช่น รับจ้างเตรียมดินในไร่ ขนอ้อยส่งโรงงาน รับจ้างตัดอ้อย เป็นต้น นอกจากนี้ในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ยังเกิดการจ้างงานอีกเป็นจำนวนมาก
  1. เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อมีโรงงานน้ำตาลกระจายตัวออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยส่งโรงงานได้ ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และกระจายรายได้ไม่กระจุกตัวแค่ในเมืองใหญ่นอกจากนี้ ยังเกิดมาตรฐานอ้อยในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมส่งออก นำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญลำดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรในประเทศ และไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก ทำให้เกิดการลงทุนและมีเงินหมุนเวียนสู่เกษตรกรหลายแสนราย
  2. เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการประกอบอาหาร ซึ่งน้ำตาลจากอ้อย เรียกได้ว่าเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการทำอาหารหลายประเภท
  3. เกิดพลังงานสีเขียวให้กับประเทศ อ้อยสามารถพัฒนาต่อยอดสู่พลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียว (Green Energy) ได้ เช่น พลังงานไฟฟ้าชีวมวลจากเชื้อเพลิงชีวมวล เช่น ใบอ้อย หรือเอทานอลที่นำมาเป็นส่วนผสมของน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ ซึ่งเป็นพลังงานสีเขียวที่เกิดจากกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อย
  4. ก้าวสู่ผลิตภัณฑ์ Bio-based เฮลธ์แคร์ต่อสิ่งแวดล้อม ความสมดุลจากอุตสาหกรรมอ้อยและสิ่งเหล่านี้สามารถต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ Bio-based ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลาสติกที่มีปริมาณมากได้จากธรรมชาติผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างพรีไบโอติกส์
  5. ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น อ้อยและน้ำตาลช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างาเท่าเทียม และมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อม จากมาตรฐาน SDGs (Sustainable Development Goals) ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยได้ความ เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

ขอบคุณที่มาข้อมูล-ภาพ

https://www.facebook.com/

https://www.farmkaset.org/

https://www.agrinewsthai.com/

 

 

ข่าวปักหมุด