หน้าแรก

สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินคำว่า “สารทดแทนความหวาน” ที่ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมสำหรับกลุ่มคนที่หลีกเลี่ยงความหวานจากน้ำตาลโดยตรง ด้วยเหตุผลทางสุขภาพหรือการหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น การลดน้ำตาลเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะหลายคนยังยอมรับว่า ความหวานช่วยให้ร่างกายคลายความกังวล และทำให้เกิดความรู้สึกดีกว่ารสอื่น ๆ

จากเหตุผลข้างต้น ทำให้มีผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารทดแทนความหวาน ที่มีคุณลักษณะให้ความหวานเหมือนน้ำตาล ที่พบบ่อยได้แก่

  • สารให้ความหวาน เช่น แอสปาแตม (Aspartame) หรือ ซูคราโลส (ซูคราโลส) เป็นสารที่ไม่มีพลังงาน และไม่สะสมในร่างกาย
  • หญ้าหวาน (Stevia) เป็นที่นิยมมาก รสชาติไม่หวานเกินไป และให้พลังงานน้อย
  • น้ำตาลที่อยู่ในแอลกอฮอล์ลดน้ำหนัก บิตอล (ซอร์บิทอล) หรือ ไซลิทอลที่มักพบในหมากฝรั่ง ซอร์บิทอลในยาสีฟัน เป็นต้น

ข้อดีของสารทดแทนความหวานคืออะไร ?

สารทดแทนความหวาน เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถรับประทานน้ำตาลได้ตามปกติ ให้พลังงานน้อย หรือไม่มีพลังงานเลย

ข้อเสียของสารทดแทนความหวาน ?

  1. แม้จะมีสารให้ความหวานประเภทที่ไม่ตกค้างในร่างกาย แต่สารสังเคราะห์บางชนิดที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติก็อาจทำให้สารเคมีตกค้างในร่างกายโดยไม่รู้ตัวได้ และเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง ระบบเผาผลาญพัง
  2. ทำให้กินมากกว่าเดิม เพราะการรับประทานสารทดแทนความหวานนั้น ไม่ให้พลังงาน ทำให้ร่างกายของเรามักจะหาพลังงานและต้องกลับไปกินน้ำตาลแท้หรืออาหารอื่น ๆ เพื่อให้ได้พลังงานมากกว่าเดิมเพื่อให้ได้ปริมาณที่พอดี ทำให้เสี่ยงต่อภาวะอ้วนและเบาหวานทางอ้อมที่ตามมามากกว่าการรับประทานน้ำตาลปกติได้
  3. ทำให้เกิดภาวะท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากอาจมีสารรบกวนที่ไม่จำเป็นจากสารทดแทนความหวาน ไปรวมกับที่ลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ท้องอืด ไม่สบายตัวได้
  4. เกิดอันตรายต่อสมอง เนื่องจากกรดในสารทดแทนความหวานนี้ เมื่อผ่านเซลล์สมองจะทำให้เกิดอันตรายต่อสมองได้

ดังนั้น ทางออกที่เป็นทางสายกลางที่สุดที่จะทำให้เรามีสุขภาพดี ไม่เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ และยังมีความสุขจากความหวานได้คือการหันมารับประทานน้ำตาลธรรมชาติอย่างพอดีนั่นเอง เพราะน้ำตาลไม่ใช่ของที่ไม่ดี แต่การรับประทานที่มากเกินไป ไม่มีการควบคุมให้เหมาะสมคือตัวการสำคัญต่างหาก แค่เปลี่ยนวิธีการรับประทาน ควบคุมปริมาณให้พอดี เท่านี้เราก็สามารถมีความสุขกับน้ำตาลได้และมีสุขภาพดีได้ด้วย

ขอบคุณที่มาข้อมูล-ภาพ :

https://www.thaihealth.or.th/

https://www.scimath.org/

https://www.vibhavadi.com/

https://www.pobpad.com/

https://www.facebook.com/

 

ข่าวปักหมุด