กำแพงเพชร ผสมพันธุ์ในช่วงปี พ.ศ. 2546 เป็นพันธุ์ผสมระหว่าง K96-141 และ Co775 มีคุณลักษณะดังนี้
ทรงกอ ค่อนข้างกว้าง ลำขนาดปานกลาง มีจำนวนลำ 5-6 ลำต่อกอ จำนวนลำต่อไร่ประมาณ 10,000 ลำต่อไร่
ใบ โค้งปานกลาง สีเขียว ใบกว้าง 6.7 เซนติเมตร ยาว 190 เซนติเมตร กาบใบหลุดลอกง่าย
คอใบ เป็นรูปกริชสีเขียว มีขนาดไม่เท่ากันทั้งสองด้าน ข้าง หนึ่งจะใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่งเล็กน้อย อยู่ในแนวระดับ มีไขปกคลุม มีขนที่คอใบบ้าง
ลิ้นใบ รูปทรงกระจับ มีความลาดเอียงปานกลาง
หูใบ มีทั้งสองข้าง ข้างที่ 1 รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วปลายมน ข้างที่ 2 รูปโค้ง
ปล้อง ลักษณะโคนใหญ่ การจัดเรียงของปล้องซิกแซก สีของปล้องเมื่อไม่ถูกแดดมีสีเหลืองอมเขียว ภาพตัดขวางกลม พบรอยแตกลึก
ตา มีลักษณะกลม ขนาดปานกลางและนูน ความสูงของส่วน บนสุดของตาต่ำกว่าเส้นวงแหวนเหนือจุดราก ฐานของตาอยู่ชิดรอยกาบใบ ไม่มีร่องเหนือตา
วงแหวนเหนือจุดราก มีขนาดปานกลาง ราบ ไม่มีเส้นโค้งเหนือตา
คุณสมบัติเด่นอื่น ๆ ปลูกง่าย ทนทานต่อสภาพอากาศพอ สมควร ต้องมีน้ำชลประทานเสริมในช่วงฤดูแล้งและฝนทิ้งช่วง ออกดอกปานกลาง เหมาะกับที่ราบค่อนข้างราบเรียบ ดินร่วนปนทรายจนถึงดินร่วนเหนียว ให้ผลผลิตราว 14-15 ตันต่อไร่ ความหวาน 13-14 ซี.ซี.เอส. อายุเก็บเกี่ยวราว 11-12 เดือน ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงได้ปานกลาง แต่ต้านทานโรคแส้ดำได้ค่อนข้างดี
อย่างไรก็ตาม อ้อยพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของพันธุ์ใหม่ที่ออกมาดังนั้น มิตรชาวไร่ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสม รวมถึงวางแผนดูแลรักษาให้ถูกต้อง
หลังจากที่มิตรชาวไร่คัดเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมได้แล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การเตรียมท่อนพันธุ์อ้อยไว้สำหรับปลูกในแปลงอ้อย นี่เป็นเรื่องสำคัญ มิตรชาวไร่จำเป็นต้องหาท่อนพันธุ์ที่ดีจากแหล่งที่ปลอดโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคใบขาว เพื่อขยายทำพันธุ์ในไร่ ของตัวเอง ซึ่งจะมีความปลอดภัยกว่าซื้อท่อนพันธุ์จากแหล่งอื่นที่เราไม่รู้ว่าเขาดูแลรักษามาอย่างไรนะครับ