- เทคโนโลยีสมัยใหม่
- ศ., 13 ก.ค. 61
Hello!!! มิตรชาวไร่ของ MPMF ทุกท่าน พักจากงานในไร่มาอัพเดตความ High Tech ของนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่เพื่อก้าวสู่ความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ไปพร้อม ๆ กันกับ Innovation Tomorrow วันนี้ขออัตเดต 4 ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีมาช่วยในงานสายเกษตรกรรมกันค่ะ
(12)
การควบคุมโรคและศัตรูพืช
การป้องกันโรคและศัตรูพืช คือ สิ่งสำคัญที่จะทำให้การเกษตรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง การระบุอาการของโรคและการเตือนเมื่อเกิดปัญหา เพื่อการแก้ไขที่ทันท่วงทีเป็นสิ่งที่มีค่าต่อเกษตรกรมาก
(11)
ตัวอย่างเช่น ผลงานของ Dolphin engineering อย่าง PreDevine เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้ระบบเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายและอัลกอริทึมสำหรับพยากรณ์ล่วงหน้า โดยสามารถดูสภาพอากาศของไร่องุ่นเพื่อทำนายการเกิดโรคหรือศัตรูพืชของไร่องุ่นได้
(10)
เครื่องนี้จะคอยดูตัวชี้วัดทางธรรมชาติต่าง ๆ จากนั้นถ่ายทอดข้อมูลเซนเซอร์ไปยังศูนย์กลางข้อมูลที่จัดไว้เป็นในชุดของอัลกอริทึม ซึ่งระบบจะจัดเก็บ เจาะรายละเอียดข้อมูลและทำนายผลลัพธ์ออกมา ผู้ใช้อ่านผลได้โดยการเข้าระบบ PreDiVine ได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน
(9)
การตรวจสอบสถานะน้ำและคุณภาพของดิน
Internet of Things ใช้ฮาร์ดแวร์เซ็นเซอร์ทำงานร่วมกับซอฟแวร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจผ่านเทคโนโลยี cloud การผสมผสานเซ็นเซอร์ต่าง ๆ สำหรับเรื่องอุณหภูมิ ความชื้นของดิน สารอาหาร อากาศ และอีกมากมาย ทำให้เกิดระบบการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
(8)
ยกตัวอย่างเช่น Greenopia ผู้พัฒนาอุปกรณ์การจัดสวน ก่อตั้ง ณ เมืองบังคาลอร์ ถือเป็นโครงการที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการมาก ปัจจุบัน Greenopia มีเป้าหมายที่จะเสนอกระถางปลูกต้นไม้อัจฉริยะ ที่มาพร้อมกับแอปพลิเคชั่นที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ช่วยทำสวนส่วนตัวของเรา เพียงแค่กดสั่งบนมือถือ คุณก็จะสามารถรดน้ำ (บางครั้งแอปพลิเคชั่นจะแจ้งเตือน) หรือคอยดูการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้
(7)
สำหรับประเทศไทย ได้มี AgriTech/AquaTech ในสายนี้แล้วเช่นกัน นั่นคือ TechFarm กับผลิตภัณฑ์ “เล่นดิน” (Len-Din) อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพดิน และ “เล่นน้ำ” (Len-Name) อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพน้ำ
(6)
การสำรวจทางอากาศเพื่อหาความผิดปกติ
สำหรับมิตรชาวไร่ที่มีที่ดินเป็นจำนวนมาก คงยากที่จะดูแลพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง สมมติว่าถ้ามีอุปกรณ์ที่บินสังเกตการณ์ไร่ของคุณได้ โดยไม่ต้องใช้คนควบคุม สามารถบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่คุณอยากรู้ ถ่ายภาพความละเอียดสูงได้ในระดับเซนติเมตร และสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาพในอดีตให้คุณได้…มันเจ๋งใช่ไหมล่ะคะ?
(5)
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือ สิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีการเกษตรด้านอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ทำมาโดยตลอด ซึ่ง UAV ของบริษัทเหล่านั้นจะมีเซนเซอร์ต่าง ๆ ได้แก่ เซนเซอร์การมองเห็น เซนเซอร์ multi-spectrum เซนเซอร์อุณหภูมิและ LIDAR ที่สามารถวัดความสูงที่เติบโตขึ้นของพืชผล ต้นไม้และสิ่งอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันเกษตรกรไทยนำ UAV มาใช้กันบ้างแล้ว รวมถึงมิตรผลเราด้วยเช่นกัน
(4)
บรรจุภัณฑ์และการขนส่ง
หนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับการเกษตรคือ ระยะเวลาในการส่งของไปถึงตลาด สำหรับเกษตรกรบางกลุ่มการเข้าถึงตลาดนั้นมีข้อจำกัดสูงมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรบางประเภท เช่น ดอกไม้ และผลไม้มักจะเน่าหรือสุกเร็วเกินไป
(3)
ตลอดเวลาที่ผ่านมา เกษตรกรและผู้ขนส่งพยายามดูแลปกป้องสินค้าโดยใช้ระบบควบคุมและดัดแปลงภูมิอากาศ ใช้สารเคมีป้องกันเชื้อรา และเครื่องบันทึกอุณหภูมิ แต่ระบบเหล่านี้ขาดสิ่งที่สำคัญ นั่นคือไม่สามารถลดการเน่าเสีย ลดการเกิดเชื้อโรค ควบคุมการสุก และปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยของอาหารไปพร้อมกันได้ เราไม่สามารถดูสินค้าแบบเรียลไทม์ได้ และไม่สามารถปรับเปลี่ยนสภาพในตู้สินค้าระหว่างขนส่งได้ แต่ Purfresh จากแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา แก้ปัญหาเหล่านี้ได้
(2)
Purfresh ไม่ใช้สารเคมีในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว แต่จะใช้โอโซนเข้าช่วย โอโซนจะทำการออกซิไดซ์การเน่าและจุลิทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคส่งผลให้การเน่าของผลิตภัณฑ์ลดลง ทั้งยังช่วยเอาก๊าซเอธิลีนออก ซึ่งช่วยควบคุมการสุกของผลไม้ดี อีกหนึ่งประการคือ การติดตามการขนส่งสินค้าได้แบบ real-time ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่หมาย และการปรับเปลี่ยนปัจจัยต่าง ๆอ้างอิงตามสถานการณ์ เช่น การขาดพลังงานอย่างรุนแรง ระดับคลื่นที่สูงขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย
(1)
ว้าว ๆๆๆ นวัตกรรมสมัยใหม่นี่มันดูเข้าท่าจริง ๆ นะคะ เทคโนโลยีพัฒนาไปไวขนาดนี้ อีกไม่กี่ปีเราคงนั่งปลูกอ้อยผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนชัวร์ เอาเป็นว่าหากมี Startup ไทยรายใดที่กำลังพัฒนา AgriTech ต่าง ๆ ในสายเหล่านี้ เราจะนำมาอัพเดตให้ทุกท่านทราบแน่นอนค่ะ
ขอบคุณข้อมูล และ ภาพจาก Techsauce