หน้าแรก

ในยุคไทยแลนด์ 4.0 เช่นนี้ อะไร ๆ ก็ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วค่ะพี่น้อง “เกษตรกรรม” ก็เช่นกัน เครื่องไม้เครื่องมือสมัยใหม่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทุ่นแรงงานคน จนเกษตรบางอย่าง No Man ไปแล้ว เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้หลงยุคตกสมัย พี่น้องมิตรชาวไร่ต้องไม่หยุดพัฒนาตนเอง และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้งานในไร่ให้ได้มากที่สุดตามความเหมาะสม

(5)

MPMF วันนี้มีเรื่องของ พ่อเอ็นพี อ้วนโฮม มิตรชาวไร่ภูหลวง จังหวัดเลย ผู้เปลี่ยนไร่อ้อยกว่า 170 ไร่ จากการทำไร่แบบเดิม สู่การทำไร่รูปแบบ มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ด้วยการนำ ฟาร์มดีไซน์ มาบริหารจัดการแปลงอ้อยให้ง่ายต่อการวางระบบน้ำ การเข้าทำงานในแปลงของเครื่องจักรและที่สำคัญ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

(4)

สาเหตุที่เปลี่ยนมาทำไร่แบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม

เดิมพื้นที่ปลูกอ้อยของพ่อเอ็มพีเป็นที่ราบ บางแปลงเป็นดินผสมหิน และพื้นที่มีขนาดเล็ก ทำให้การจัดการแปลงไม่เหมือนกัน ใช้แรงงานคนปลูกและตัดอ้อยเป็นหลัก ซึ่งแต่ละฤดูกาลจะประสบปัญหาแรงงานไม่เพียงพอ บ่อยครั้งที่แรงงานเจอต้นอ้อยล้มก็หยุดทำงาน ส่งผลให้บางปีการตัดอ้อยส่งโรงงานล่าช้าไม่ทันกับฤดูหีบอ้อยของโรงงาน

(3)

หลัก “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” ของฟาร์มดีไซน์ ดีอย่างไร

หลักดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง ใช้ระยะห่างระหว่างร่องที่ 1.50 เมตร และนำรถพร้อมเครื่องจักรเข้าไปทำงานในแปลงแทนการใช้แรงงานคน จากการจัดรูปแปลงใหม่นี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ อ้อยที่เคยไว้ตอได้ 3 รอบ หลังจากใช้เทคโนโลยี สามารถไว้ตอได้ถึง 5 รอบ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละไม่น้อยกว่า 13-14 ตัน ที่สำคัญไม่ต้องอาศัยแรงงานคนในการบริหารจัดการอย่างที่ผ่านมา

(2)

นอกจากนี้ การปรับรูปแบบแปลงปลูกให้มีระยะห่าง ทำให้จัดวางระบบง่ายและสะดวกขึ้น ยิ่งในช่วงอ้อยตอ หากได้รับน้ำเร็ว ก็จะแตกกอไวขึ้น จึงเลือกระบบน้ำหยด วางท่อช่วงละประมาณ 80 เมตร ตลอดความยาวของแปลงปลูก ไม่ต้องนั่งเฝ้าเวลาให้น้ำ เพียงตั้งเปิด-ปิด วาล์ว แล้วเอาเวลาที่เหลือไปทำงานในส่วนอื่นแทน

(1)

ใครอยากมีเวลาเหลือไปดูแลงานส่วนอื่นหรือจะทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควบคู่ไปกับการทำไร่อ้อย ลองเปิดใจให้ฟาร์มดีไซน์ของมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มเข้าไปช่วยจัดการรูปแปลงในไร่ดูนะคะ

ข่าวปักหมุด