เนื่องจากในดินจะมีโรคและแมลงศัตรูอ้อยสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เห็นได้จากระบบรากอ้อยในพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อยต่อเนื่องโดยไม่มีการพักดิน รากจะสั้น ไม่แข็งแรง และเจริญเติบโตได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่มีการพักดิน และดินเปิดป่าใหม่
โรคและแมลงศัตรูอ้อยมีแหล่งอาศัยอย่างต่อเนื่อง สามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณไปได้เรื่อย ๆ ทำให้อ้อยที่ปลูกอย่างต่อเนื่องอ่อนแอลง เจริญเติบโตน้อยกว่าแปลงที่มีการพักดิน
เกิดจากการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก วิ่งบดทับอยู่บนแปลงอ้อยมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี อย่างในประเทศออสเตรเลียน้ำหนักรถตัดอ้อยและน้ำหนักรถบรรทุกอ้อยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น้ำหนักเครื่องจักรอื่น ๆ เช่น รถแทรกเตอร์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน น้ำหนักเหล่านี้นานวันยิ่งทำให้ดินถูกบดอัดแน่นและแน่นมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณรอยล้อ
การไถพรวนบ่อยครั้งเป็นการทำลายโครงสร้างดิน ดินจะถูกย่อยเป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือเป็นฝุ่น ทำให้สูญเสียความสามารถในการอุ้มน้ำและอากาศ การไถพรวนจะทำให้อินทรียวัตถุในดิน ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศสูญเสียอินทรียวัตถุในรูปก๊าซ นอกจากนี้ยังส่งผลให้สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อาศัยอยู่ไม่ได้
สภาพอากาศแปรปรวนเป็นสภาวะที่คนทั่วโลกต่างกังวลถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น มีผลทำให้โลกร้อน โดยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่งผลโดยตรงกับภาคเกษตรกรรม กล่าวคือ ทำให้ปริมาณฝนและการกระจายตัวของฝนไม่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ทำให้ปริมาณความชื้นไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อย อ้อยจึงกระทบแล้ง ผลผลิตจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ค่าความหวานและคุณภาพอ้อยจึงมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
เมื่อรู้เท่าทันปัญหาอย่างนี้แล้ว เราต้องวางแผนบริหารจัดการไร่อ้อย ไม่ให้ปัญหาเหล่านี้มากวนใจอีกต่อไปนะครับ