- มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม
- จ., 31 ส.ค. 63
ดิน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปลูกพืชแทบทุกชนิด รวมถึงการปลูกอ้อยเช่นเดียวกัน ลักษณะโครงสร้างของดินและความอุดมสมบูรณ์ ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตอ้อย
การจัดการดินที่ดี ในที่นี้หมายถึง การปรับปรุง บำรุงรักษาดิน ตามลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติพื้นฐานที่ดินควรมี เช่น ความชื้น แร่ธาตุอาหารในดิน เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาทักษะการบริหารจัดการดินของมิตรชาวไร่ เพื่อให้ได้ดินดีมีคุณภาพ เลี้ยงดูอ้อยให้เจริญเติบโต คุ้มค่าการลงทุนของมิตรชาวไร่เอง
ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่มิตรชาวไร่จะวางแผนจัดการดินให้ถูกวิธีและเหมาะสมตามลักษณะของพื้นที่ มิตรชาวไร่ต้องรู้จักชนิดของดิน เพื่อการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
ชนิดของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในประเทศไทย จากการสำรวจดินที่ใช้ปลูกอ้อยในประเทศไทย มี 6 ลักษณะ คือ
เป็นดินที่ใช้ปลูกอ้อยมากที่สุดของประเทศ มีความอุดมสมบูรณ์สูง พื้นที่ที่มีดินประเภทนี้ ได้แก่ ดินในจังหวัด นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และลำปาง
เป็นกลุ่มดินที่มีความอุดมสมบูรณ์รองลงมา ได้แก่ดินในจังหวัดชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานี และเพชรบุรี
เป็นดินที่ใช้ปลูกอ้อยไม่มากนัก ได้แก่ ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอ้อยที่ปลูก มักให้ผลผลิตต่ำ
คล้ายกับดินชุดวาริน มีการปลูกอ้อยไม่มากนัก เนื่องจากอ้อยที่ปลูกในดินชุดนี้จะให้ผลผลิตต่ำ
มีความอุดมสมบูรณ์สูง ให้ผลผลิตดี ได้แก่ดินในจังหวัดชัยภูมิ
เป็นดินเหนียวสีดำ เป็นด่าง อ้อยเจริญเติบโตได้แต่จะมีรากสั้น เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก แมงกานีส และสังกะสี ถ้าฝนแล้งจะทำให้ผลผลิตลดต่ำ ได้แก่ดินในจังหวัดนครสวรรค์ และบางแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อมิตรชาวไร่รู้จักชนิดของดินในพื้นที่เป็นอย่างดีแล้ว ลำดับต่อมาคือการพิจารณาคุณสมบัติของดิน ทั้งลักษณะรูปร่างโครงสร้าง และลักษณะทางเคมีหรือธาตุอาหาร เพื่อให้ทราบปัญหาว่า ดินในพื้นที่ของท่านขาดหรือเกินส่วนไหน เพื่อให้การปรับปรุงและแก้ไขปัญหาดินเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม คุ้มค่าแก่การลงทุน ลงแรง และลงเวลา อย่าลืมว่า ดินของเรา เราต้องรู้จักดีกว่าคนอื่น เพื่อการปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมายในแต่ละฤดูกาล
ที่มาข้อมูล-ภาพ
http://mordin.ldd.go.th/
https://www.agrocares.com/