เชื่อว่ามิตรชาวไร่ของมิตรผล ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการอ้อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องดินเป็นอย่างดี ดินลักษณะไหนปลูกอ้อยได้อย่างไร เมื่อดินมีปัญหาควรบำรุงรักษาหรือปรับปรุงดินอย่างไรให้อุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการปลูกอ้อย เพราะดินซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งดินประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แร่ธาตุ อินทรียวัตถุหรือซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย น้ำ และอากาศ
ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกต้องดูที่หน้าดินด้วย อาทิ ดินชั้นบน หรือ ชั้นไถพรวน มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกพืชมาก เนื่องจากรากของพืชส่วนมากจะชอนไชหาอาหาร ณ ดินชั้นนี้ ดินชั้นบนเป็นชั้นที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่าชั้นอื่น ปกติดินชั้นบนจะมีสีเข้ม หรือคล้ำกว่าชั้นอื่น ๆ ใช้สำหรับการทำการเพาะปลูกพืชทั่ว ๆ ไป จะต้องมีความหนาตั้งแต่ 0 - 15 ซม.
สำหรับดินชั้นล่าง รากพืชของต้นไม้ยืนต้น จะมีรากชอนไชลงไปถึงชั้นนี้ได้ และมีอินทรียวัตถุน้อยกว่าชั้นบน ดังนั้นดินซึ่งมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกควรต้องมีหน้าดิน รวมดินชั้นบนและดินชั้นล่าง มีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
ดินเหนียว เป็นดินมีความละเอียดมากที่สุด ยืดหยุ่นได้ดีเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ สามารถปั้นเป็นก้อนได้ จากความเหนียวจึงทำให้พังได้ยาก อุ้มน้ำดี รวมทั้งการจับยึดและดูดธาตุอาหารของพืช ทำได้ค่อนข้างสูง จึงมีแร่ธาตุอาหารของพืชอยู่มาก เหมาะสำหรับใช้ปลูกข้าวเนื่องจากกักเก็บน้ำได้นาน
ดินทราย เป็นดินร่วน เกาะตัวกันไม่แน่น จึงทำให้ระบายทั้งน้ำและอากาศได้อย่างดีเยี่ยม แต่อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายได้ง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากความสามารถในการจับธาตุอาหารมีน้อย ทำให้พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายขาดน้ำและธาตุอาหารได้ง่าย
ดินร่วน เป็นดินค่อนข้างละเอียด จับแล้วนุ่ม มีความยืดหยุ่นพอสมควร ระบายน้ำได้ดีปานกลาง มีแร่ธาตุอาหารของพืชมากกว่าดินทราย เหมาะสำหรับใช้เพาะปลูกเป็นอย่างมาก แต่ดินร่วนแบบของแท้มักไม่ค่อยพบในธรรมชาติ แต่ก็จะพบดินซึ่งมีเนื้อดินใกล้เคียงกันเสียมากกว่า
มีดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าดินแบบไหนที่ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช ดินที่พืชไม่ชอบคือ ดินแบบมีน้ำขังหรือดินลักษณะแน่นทึบ พืชจะไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากรากพืชขาดอากาศสำหรับใช้หายใจ ทำให้ไม่อาจดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ พืชกินอาหารแบบสารละลาย ดังนั้นถ้าปราศจากความชื้นในดิน ถึงแม้จะมีธาตุอาหารอยู่มากแค่ไหน แต่พืชก็ไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้ได้ จำเป็นต้องมีน้ำไปหล่อเลี้ยงนั่นเอง