จากปัญหาหมอกและควันที่เกิดจากไฟป่า และการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ก่อให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพของประชาชน รวมทั้งยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกําหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันและบรรเทาปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี โดยเฉพาะภาคเหนือบางจังหวัด ที่พบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก เกินเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยในปี 2563 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม มีพื้นที่เผาไหม้ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งสิ้น 9,483 จุด มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM10 ในอากาศเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ สาเหตุมาจากการเผาเศษวัสดุในพื้นที่เกษตร เพื่อเตรียมแปลงปลูกพืชในฤดูถัดไป อีกเหตุผลที่เกษตรกรเลือกใช้วิธีการจํากัดเศษวัสดุโดยวิธีการเผา เนื่องจากเกษตรกรไม่มีทุนในการกําจัดเศษวัสดุในวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งผลของการเผาเศษวัสดุนั้น เป็นการสร้างก๊าซเรือนกระจก สร้างมลพิษทางอากาศ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม สูญเสียธาตุอาหารในดิน ทําลายโครงสร้างดิน ทําลายห่วงโซ่อาหาร และการไถเตรียมพื้นที่ปลูกด้วยรถแทรกเตอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายสูง
เพื่อเป็นการบรรเทาและแก้ปัญหาเร่งด่วนที่จะเกิดขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายส่งเสริมและกระตุ้นให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การเผา ให้เปลี่ยนมาใช้วิธีการไถกลบเศษวัสดุทางการเกษตร พร้อมส่งเสริมและบริหารจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรตามหลักวิชาการ นํามาผลิตปุ๋ยหมัก เพื่อการปรับปรุงบํารุงดิน การอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน และป้องกันการเกิดจุดความร้อน (Hotspot) และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการเผา
ทั้งนี้ในส่วนของมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มเอง เราสื่อสารต่อพี่น้องมิตรชาวไร่เสมอ ถึงข้อดี - ข้อเสียของการตัดอ้อยสด ไม่เผาอ้อยก่อนตัด ทั้งในเรื่องคุณภาพอ้อย ค่าความหวานที่แตกต่างกัน รายรับจากการขายอ้อยสดที่ต่างจากอ้อยไฟไหม้ คุณภาพของดินที่เสื่อมโทรม หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดขึ้นหากตัดอ้อยเผาใบ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่ามิตรชาวไร่หลายท่านตระหนักถึงข้อดีข้อเสียตรงนี้ และพยายามเปลี่ยนมาตัดอ้อยสดเข้าโรงงานมากขึ้น และคาดว่าจะมีชาวไร่ที่ตัดอ้อยสดเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องต่อไปทุกปี จนไม่มีการเผาอ้อยก่อนตัดเกิดขึ้นในสังคมไทยอีกต่อไป
https://www.technologychaoban.com/