หน้าแรก

          นักวิจัยจีนคิดค้นแผงโซลาร์เซลล์ไฮบริด ที่สามารถดึงพลังงานกลจากเม็ดฝนที่มาตกกระทบผลิตเป็นไฟฟ้า ที่อาจแก้ปัญหาสำคัญของพลังงานแสงอาทิตย์ได้

          โดยปกติแล้วในช่วงฝนตก แผงโซลาร์เซลล์จะทำงานได้ประสิทธิภาพน้อยมาก แต่นักวิจัยในจีนจากมหาวิทยาลัย Soochow ได้ค้นพบวิธีช่วย โดยการพัฒนาแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ประโยชน์จากเม็ดฝนไปด้วย

Process 4.jpg

         งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2561 ในวารสาร ACS Nano โดยนำเทคโนโลยี Triboelectric nanogenerator  หรือ เทคโนโลยี TENG ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สร้างประจุไฟฟ้าจากการเสียดสีของวัสดุสองชนิด เช่นเดียวกับหลักการไฟฟ้าสถิตย์ – มันคือการขยับของอิเล็กตรอน

Process Combine.jpg

https://www.youtube.com/watch?v=LWSv3b60tB8&ab_channel=CENOnline

         ระบบ TENG สามารถสร้างพลังไฟฟ้าจาก รถยนต์ที่วิ่งบนถนน ที่ปูด้วยแผ่น Triboelectric nanogenerator  หรือในกรณีนี้ การนำมาใช้กับแผงโซล่าเซลล์ สร้างพลังงานไฟฟ้าโดยหลักการการกระทบของเม็ดฝน บนแผงโซลาร์เซลล์

         ในขณะที่แนวคิดของการใช้ TENG เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ความท้าทายคือการพัฒนาระบบที่ไม่ซับซ้อนหรือใหญ่เกินไป เจ้าอุปกรณ์ใหม่นี้มีการผสานรวม TENG เข้ากับชั้นของแผงโซล่าร์เซลล์แบบเก่าอย่างแนบเนียน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าร์เซลล์ ขึ้นอีก 10%

         โดยคุณ Zhen Wen ให้ข้อมูลว่า “ต้องรอไปอีกอย่างน้อย 5 ปี (2024) กว่าที่อุปกรณ์ตัวต้นแบบของ แผงโซล่าร์เซลล์ แบบใหม่นี้จะถูกสร้างออกมา อุปกรณ์ของเราอาจจะสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแรงลมได้ด้วย ถ้าเราทำการดัดแปลงโครงสร้างของ TENG เนื่องจากมันสามารถแปลงพลังงานกลในธรรมชาติหลายรูปแบบ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้”

ที่มา : https://www.facebook.com/environman.th/photos/3349342978527459

         https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/how-to-generate-power?fbclid=IwAR2Q2esWDNFj3VfRX224-9jNRnPZbFdcatKsplMNV0XiAhQIeDDQucQMEsk

         https://bit.ly/3qEQUcN

 

ข่าวปักหมุด