สวัสดีค่ะ พี่น้องมิตรชาวไร่ทุกท่าน หากพูดถึงโครงการ ธนาคารต้นไม้ ของกลุ่มมิตรผล เชื่อว่าพี่น้องมิตรชาวไร่หลายท่านน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะโครงการนี้ได้ขยายผลมาจาก “โครงการทำตามพ่อปลูก เพ(ร)าะสุข” ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งจากการปลูกอ้อยมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชผักตามฤดูกาล เพื่อใหเ้กษตรกรชาวไร่อ้อยลดรายจ่ายและมีรายได้เสริมตลอดทั้งปี
ทั้งนี้โครงการธนาคารต้นไม้ มีเป้าหมายหลักให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและชุมชน เน้นการปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการออมรายได้ในระยะยาว ทั้งในด้านมิติเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการธนาคารต้นไม้ในพื้นที่ 7 โรงงาน 1 โครงการ ขยายมาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและครัวเรือนอาสา ภาย
ใต้โครงการพัฒนาชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ปลูกไม้เศรษฐกิจ อาทิ ไม้สัก พะยูง ประดู่ แดง ยางนา และมะค่า จำนวนกว่า 40,000 ต้น
ซึ่งหลังจากที่พี่น้องสมาชิกโครงการฯ ได้รับมอบต้นไม้และนำไปปลูกในพื้นที่แปลงเกษตรของตนเอง ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรวบรวมข้อมูลต้นไม้ เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลต้นไม้ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในมิติต่าง ๆ จึงนำไปสู่การพัฒนา “Tree B Application” ร่วมกับฝ่ายพัฒนาระบบงานอ้อย เพื่อติดตามสถานะการเจริญเติบโตของต้นไม้
ซึ่งนอกจากแอพฯนี้จะเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบฐานข้อมูลต้นไม้แล้ว สมาชิกโครงการฯ ที่นำต้นไม้ไปปลูกในพื้นที่หัวไร่ ปลายนา ยังสามารถโหลดแอพฯนี้ ไปใช้ติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้ง่าย ๆ บนโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของตนเอง
จากการที่เราได้ใช้ Tree B Application ติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้และจัดทำระบบฐานข้อมูลต้นไม้ไว้นั้น พี่น้องมิตรชาวไร่สงสัยกันไหมคะว่าจะนำข้อมูลต้นไม้ไปทำอะไรต่อและประโยชน์กับพี่น้องสมาชิกโครงการฯ ได้อย่างไร
ตามที่เราเกริ่นไปในข้างต้นถึงเป้าหมายการปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อการสร้างรายได้จากการออมต้นไม้ ข้อมูล
ต้นไม้ที่เราเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลทั้ง 40,000 ต้น จะใช้ในการติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้ ในส่วนของไม้เศรษฐกิจบางชนิดเมื่อเติบโตถึงระยะเวลาหนึ่งยังสามารถใช้แทนสินทรัพย์นำไปค้ำประกันเงินกู้ให้สมาชิกโครงการฯได้ โดยมูลค่าจะขึ้นอยู่กับชนิด และอายุของต้นไม้ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะทำให้พี่น้องสมาชิกโครงการฯ มีข้อมูลต้นไม้เป็นพื้นฐานไว้ช่วยในการคำนวณมูลค่าต่อไป
และนอกจากการส่งเสริมให้พี่น้องสมาชิกโครงการฯปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตัวเองแล้ว ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ ยังมุ่งหวังที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจ ในการต่อยอดสู่การร่วมดูแลป่าชุมชนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดูดซับปริมาณคาร์บอนเพิ่มขึ้น เพราะการปลูกต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนได้เฉลี่ย 1-1.7 ตันคาร์บอน รวมถึงดักจับฝุ่นเเละมลพิษในอากาศได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี
นอกจากนี้ทางมิตรผลยังมีแผนจะดำเนินการร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯที่มีการขับเคลื่อนโครงการ “คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ” ที่ทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในการสนับสนุนให้ชุมชนช่วยกันดูแลป่าชุมชนในพื้นที่และวางระบบการวัดขนาดต้นไม้เพื่อประเมินปริมาณการดูดซับคาร์บอน และคิดเป็นมูลค่าคาร์บอนเครดิตที่ชุมชนสามารถขายได้จากโครงการนั้น ๆ อีกทั้งฐานข้อมูลต้นไม้ยังสามารถเชื่อมโยงกับมิตรผลที่ทำการเกี่ยวกับการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายองค์กรที่จะเป็น Carbon Neutralityและ Net Zero ในอนาคต โดยมีส่วนหนึ่งของโครงการเป็นการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยกักเก็บคาร์บอน โดยการมีฐานข้อมูลต้นไม้ในระบบจะทำสามารถนำไปคำนวณปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถกักเก็บได้ในอนาคต
สุดท้ายนี้ ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ หวังว่า “โครงการธนาคารต้นไม้” จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในการเพิ่มพื้นที่
สีเขียว สร้างการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนรักธรรมชาติและดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกหลานต่อไป
ที่มา : วารสารมิตรชาวไร่ โดย คุณกรรณิกา ว่องกุศลกิจ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืน