- เทคโนโลยีสมัยใหม่
- อ., 17 ก.ย. 62
สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ การทำไร่อ้อยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ถูกนำมาปรับใช้เพื่อให้เกษตรกรทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างการขนส่งอ้อยแต่ละครั้งจะต้องมีการระบุข้อมูลความเป็นเจ้าของ ตรวจสอบระบบคิวที่ใช้ในการนำส่งอ้อยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้บริการรถคีบ การใช้บริการกลุ่มผู้รับเหมารถบรรทุก กลุ่มผู้รับเหมาบริการรถตัดอ้อย เป็นต้น ดังนั้นการบ่งชี้ถึงข้อมููลดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมเพื่อเป็นการป้องกันและลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
กลุ่มมิตรผลได้ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในระบบการรับอ้อยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส ทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้มีส่วนได้เสียในระบบ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรอีกด้วย
โดยเลือกเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency ) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบการขนส่งสินค้า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างดี มาออกแบบระบบรับอ้อย โดยได้นำบัตร RFID มาเป็นสื่่อกลางเพื่อบริหารจัดการในการนำส่งอ้อยเข้าโรงงานในทุกขั้นตอน
RFID ย่อมาจาก Radio-Frequency-Identification หรือบัตรที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ลักษณะภายนอกเหมือนบัตรพลาสติกธรรมดาทั่วไปแต่ภายในบัตรจะมีการฝังไมโครชิพ และเสาอากาศในการส่งสัญญาณไว้ภายใน การใช้งานจะเป็นการนำบัตรมาวางกับเครื่องอ่านบัตร โดยไมโครชิพจะรับพลังงานผ่านคลื่นความถี่่วิทยุและส่งสัญญานกลับไปยังเครื่่องอ่าน (Passive) ในหลายกรณีจะเรียกบัตรชนิดนี้ว่า Contactless Smart Card หรือบัตรสมาร์ทการ์ดแบบไร้สัมผัส
พนักงานขับรถรถบรรทุกมาถึงโรงงานจะใช้บัตร RFID เป็นสื่อกลางเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบรับอ้อย ตั้งแต่บริเวณลานนอกเพื่อตรวจสอบระบบคิวห้องชั่งอ้อยเพื่อระบุปริมาณน้ำหนักจุดเทดัมพ์เพื่อระบุตัวอย่างน้ำอ้อยในการวิเคราะห์ค่าความหวานในแต่ละจุด ระบบจะมีการตรวจสอบและบันทึกข้อมูล และรถบรรทุกดำเนินการในแต่ละขั้นตอนเสร็จสิ้น ข้อมูลจะถูกส่งไปสู่ขั้นตอนของการประมวลผลค่าอ้อยเพื่อทำรายการจ่ายเงินค่าอ้อยและค่าบริการรับเหมาและขั้นตอนต่าง ๆ ต่อไป
ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เอกสารจำนวนมาก มีเพียงบัตร RFID บัตรเดียวเป็นสื่อกลางก็สามารถส่งอ้อยได้อย่างถููกต้องแม่นยำนั่นเอง
ปัจจุุบันกลุ่มมิตรผลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เราได้ศึกษาการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ข้อมููลพิกัดรถบรรทุกจากระบบ GPS ที่ใช้ในการนำส่งอ้อย ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบฐานข้อมููลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบปัญญาประดิษฐ์ ( AI ) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning ) มา พัฒนาปรับใช้ในการออกใบคิวและสั่งตัดอ้อยตามค่าความสุกแก่หรือค่าความหวานของอ้อยรายแปลง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการยกระดับระบบการนำอ้อยเข้าหีบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการเกิดอ้อยค้างไร่ ค้างลาน และส่งผลให้มิตรชาวไร่ได้รายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น รับกำไรเป็นกอบเป็นกำค่ะ
ที่มาข้อมูล-ภาพ : วารสารมิตรชาวไร่