หน้าแรก

ปัจจุบัน “โดรน” ถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้ในการถ่ายรูป/ถ่ายวิดีโอจากมุมสูง ใช้ในการเกษตร คนส่วนใหญ่ใช้โดรนสำหรับการถ่ายภาพที่ทำให้ได้มุมมองที่แปลกตา ปัจจุบันรายการโทรทัศน์ ละคร หรือภาพยนตร์ นิยมใช้โดรนในการถ่ายทำเพื่อให้ได้มุมมองที่สวยงามที่ไม่เคยเห็น

จะเห็นได้ว่า โดรนนั้นเป็นเทคโนโลยีที่เป็นกระแสนิยมค่อนข้างมาก และในการใช้โดรนนั้น นอกจากจะต้องศึกษาเพื่อเลือกใช้ประเภทของโดรนที่เหมาะกับลักษณะงานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงกฎหมายอีกด้วย

โดรนแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  1. Multirotor UAVs เป็นโดรนประเภทที่ใช้งานทั่วไป เนื่องจากมีความคล่องแคล่ว สะดวก เพราะไม่ต้องใช้รันเวย์ในการบินขึ้นและลงจอด
  2. Fixed-wing drones มีความเร็วสูงกว่าโดรนประเภท Multirotor UAVs และสามารถบินได้นานกว่า จึงเหมาะกับการสำรวจพื้นที่ขนาดกว้าง แต่จำเป็นต้องมีรันเวย์ในการบินขึ้นและลงจอด
  3. Hybrid model (tilt-wing) เป็นประเภทที่พบได้ยาก มีความเร็วในการบิน และระยะในการบินสูงกว่าสองแบบแรก และไม่ต้องใช้รันเวย์ในการบินขึ้นและลงจอด

โดรนการเกษตร นวัตกรรมที่ขาดไม่ได้ในยุคเกษตรดิจิทัล      

ปัจจุบันการทำการเกษตรของไทยมีการพัฒนาไปอย่างมาก โดยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนผลิต การใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในกระบวนการต่างๆ ไปจนถึงการหาตลาดโดยใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตตรงสู่ผู้บริโภคได้ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เทคโนโลยีสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรไทยได้ ซึ่งโดรนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดเวลา ลดแรงงานในการทำงาน โดยโดรนสามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ดังนี้

โดรนสำหรับหว่านปุ๋ย และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช

โดยปกติแล้วการฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชและหว่านปุ๋ยจะใช้แรงงานคน โดยใช้เวลาในการทำงานหลายชั่วโมงต่อพื้นที่การเกษตร รวมทั้งปัญหาฉีดไม่ทั่วถึงและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการฟุ้งกระจาย หากนำโดรนมาใช้ในการฉีดพ่นยาและหว่านปุ๋ย แม้จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น แต่ก็และมากับประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้แรงงานคน สามารถลดเวลาในการทำงานได้ และทำงานได้อย่างทั่วถึง

โดรนสำหรับการรดน้ำ การให้ฮอร์โมน

ในการรดน้ำและการให้ฮอร์โมนพืช ช่วงเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก พืชจะสามารถดูดซึมอาหารและฮอร์โมนได้ดีที่สุดในช่วงเวลาที่ปากใบเปิด คือเวลาไม่เกิน 7 โมงเช้า หากเกษตรกรมีพื้นที่ทำการเกษตรหลายไร่ ก็จะต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชให้ทันเวลา ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ได้โดยการใช้โดรนในการรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชแทนแรงงานคน ซึ่งจะสามารถลดเวลาและการใช้แรงงานในการรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชได้ และยังลดการเหยียบย่ำในพื้นที่แปลงนาให้เกิดความเสียหายด้วย โดยโดรน 1 ลำ สามารถฉีดพ่นพืชในตระกูลพืชไร่ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ได้จำนวน 100-200 ไร่ต่อวัน โดยใช้คนควบคุมการทำงานของโดรนเพียง 1-2 คน เท่านั้น ในขณะที่การรดน้ำและให้ฮอร์โมนพืชโดยทั่วไป อาจจ้องใช้แรงงานคนถึง 10-20 คนเลยทีเดียว

โดรนสำหรับการถ่ายภาพวิเคราะห์ / ตรวจโรคพืช

เทคโนโลยีโดรนสามารถนำมาช่วยให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาโรคพืชได้อย่างตรงจุด โดยการนำโดรนมาติดระบบเซ็นเซอร์ และกล้องสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศโดยใช้ระบบ GPS ในการหาพิกัดต่าง ๆ การตรวจสอบภาพพื้นที่เพาะปลูกในมุมสูง เพื่อวิเคราะห์หาการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละจุด และหาวิธีแก้ไขได้อย่างทั่วถึง

ซึ่งปัจจุบันโดรนมีราคาลดลงเมื่อเทียบกับช่วงแรกที่เริ่มนำโดรนเข้ามาใช้งาน ซึ่งหากเทียบราคาและประสิทธิภาพในการทำงานของโดรน เครื่องมือชนิดนี้จึงเหมาะแก่ความคุ้มค่าที่น่าลงทุน และเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ขอบคุณที่มาข้อมูล-ภาพ

https://www.depa.or.th/

https://www3.rdi.ku.ac.th/

 

 

ข่าวปักหมุด