หน้าแรก

ทำไมต้องลดการพรวนดิน-03.jpg

กิจกรรมที่สำคัญมากที่สุดอีกหนึ่งอย่างสำหรับการปลูกอ้อยใหม่ คือ “การเตรียมดิน” ไม่ว่าจะเรื่องการพักดินปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน การทิ้งใบอ้อยคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น รวมถึงการไถพรวนเพื่อช่วยเรื่องการเก็บกักน้ำ เพื่อให้ดินมีคุณภาพดี ส่งเสริมการปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตดีตามมา

พูดถึงเรื่องการพรวนดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการปลูกพืชนั้น พรวนน้อยไปก็ไม่ดี พรวนมากไป แรงไปก็ไม่ดีอีกเช่นกัน วันนี้เราจะพูดถึงเสาหลักที่ 3 ของหลักสี่เสาพลัส เรื่องลดการไถพรวน (reduce tillage) มาดูกันว่า ทำไมเราจึงต้องลดการไถพรวนรวมถึงห้ามพรวนดินแรง

เหตุผล 4 ประการ ทำไมต้องลดการพรวนดิน (Reduce Tillage)

ประการแรก เป็นการทำลายโครงสร้างดิน โดยย่อยดินออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ และเป็นฝุ่น ดินที่เสียโครงสร้างนี้จะสูญเสียความสามารถในการอุ้มน้ำและอากาศ ทำให้สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อาศัยอยู่ไม่ได้

soil.png

ประการที่สอง การไถพรวนมากเกินไปและการไถพรวนแบบรุนแรง นอกจากไม่ดีสำหรับดินและเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในดินด้วย ซึ่งโดยปกติสิ่งมีชีวิตในดินที่เป็นประโยชน์ต่ออ้อย มีมากกว่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูอ้อย แต่หากไถพรวนดินมากเกินไปสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์จะตายลงในอัตราที่เร็วกว่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูอ้อย ทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบนิเวศน์ ทำให้มีสัตว์ที่เป็นศัตรูอ้อยในดินมากกว่า

tractor.png

ประการที่สาม การไถพรวนยังนำอินทรียวัตถุที่ถูกฝังในดินขึ้นมาเหนือดิน ทำปฏิกิริยาเคมีกับอากาศเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ลอยไปในอากาศ ดังนั้น การไถพรวนมากทำให้อินทรียวัตถุในดินลดลง

Climate-Control.jpg

ประการที่สี่ การไถพรวนดินบ่อยครั้ง โดยเฉพาะดินที่มีปริมาณทรายแป้ง (silt) สูง จะทำให้อนุภาคทรายแป้งแยกตัวไปเคลือบผิวหน้าดินและอุดตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ทำให้หน้าดินเป็นแผ่นแข็งและดินล่างแน่นทึบเป็นดาน จำกัดการเจริญเติบโตของรากอ้อย ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง

cracking-soil.jpg

และนี่คือสาเหตุที่ทำไมเราจึงต้องลดการไถพรวน เพราะนอกจากจะทำให้ดินดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ดินไม่ถูกรบกวน อินทรียวัตถุสลายตัวช้าและคงอยู่ในดินได้นาน ที่สำคัญทำให้ดินร่วนซุยในระยะยาวและช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยได้อีกด้วย

ข่าวปักหมุด