หน้าแรก

สวัสดีค่ะทุกคน ใกล้จะสิ้นเดือนแบบนี้ หลายบ้านได้ตกอกตกใจกับบิลค่าไฟที่แพงหูฉี่กันแล้วใช่ไหมคะ อย่าเครียดค่ะอย่าเครียด อากาศร้อนเหมือนมีใครมาจุดไฟข้าง ๆ ตัวขนาดนี้ ต้องจ่ายค่าไฟเปิดแอร์ เปิดพัดลม แพง ๆ ก็ยอมค่ะ จริงไหม?

มิตรชาวไร่อย่างเราไม่ต้องไปแคร์กับค่าไฟค่ะ มาใส่ใจกับอ้อยที่จะช่วยผลิตเงินมาจ่ายค่าไฟดีกว่า ช่วงนี้บ้านไหนปลูกอ้อยตอก็เป็นช่วงที่ต้องให้น้ำ ให้ยาหลังงอกนะคะ อ้อยตอนี่แหละค่ะทำกำไรให้เราได้มากกว่าอ้อยปลูก เพราะต้นทุนต่ำกว่า ยิ่งถ้าได้รับการบำรุงรักษาดี ๆ ยิ่งให้ผลผลิตดีและไว้ตอได้นานหลายปีเลยทีเดียว

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม มีเคล็ด(ไม่)ลับ บำรุงอ้อยตอ เพื่อเพิ่มผลผลิตด้วยขั้นตอนง่าย ๆ มาฝากค่ะ

  1. การบำรุงตออ้อย

1.1 ใส่ปุ๋ยหลังตัดอ้อย ควรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือตามแผนการจัดการปุ๋ย เพื่อกำหนดว่าจะใช้ปุ๋ยอะไร อัตราส่วนเท่าไหร่

1.2 การให้น้ำ ให้น้ำทันทีหลังตัดอ้อยเสร็จ เพื่อกระตุ้นการงอก โดยจะให้น้ำวันละ 6-8 ชั่วโมง จากนั้นย้ายไปให้น้ำแปลงใหม่ที่พึ่งตัดเสร็จ อ้อยตอที่ได้รับปุ๋ยและน้ำทันทีหลังตัดเสร็จจะงอกทุกกอ

  1. ดูแลรักษาตออ้อย

การบำรุงตออ้อย ควรตัดแต่งตออ้อยหลังจากตัดทันทีหรือภายใน 15 วัน หากตัดอ้อยชิดดินก็

ไม่ต้องตัดแต่งตออ้อย

2.1 พ่นสารเคมีคุมวัชพืชก่อนงอก การจัดการวัชพืชมีความสำคัญ เนื่องจากวัชพืชจะแย่งน้ำและธาตุอาหารจากอ้อยตอ ทำให้ผลผลิตลดลง แปลงอ้อยที่ผลผลิตสูงจะเป็นแปลงที่ไม่มีวัชพืช การพ่นสารเคมีควบคุมวัชพืช 2 ครั้ง จะช่วยในการจัดการวัชพืช

2.3 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1 ช่วงอายุ 2-3 เดือน เน้นไนโตรเจน 50 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการทั้งหมด ส่วนโพแทสเซียม ไม่ต้องใส่ให้ อ้อยในช่วงนี้ ครั้งที่ 2 ช่วงอ้อยอายุ 5 เดือน เน้นโพแทสเซียม 50 เปอร์เซ็นต์ และไนโตรเจน 25 เปอร์เซ็นต์

2.4 ตรวจโรคใบขาว โรคใบขาวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของอ้อย มักพบในอ้อยปลูกปีแรก โดยอ้อยเป็นโรคเจริญเติบโตเป็นลำมีใบสีเขียวคล้ายอ้อยปกติ มีเพียงหน่อขาวเล็ก ๆ ที่โคนกอ แต่อาการโรคจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนในอ้อยตอในระยะเวลาต่อมา เมื่อนำอ้อยที่มีอาการแฝงคล้ายอ้อยปกติดังกล่าวไปปลูกต่อ จะทำให้โรคระบาดต่อไปได้อย่างกว้างขวาง อาการของโรคปรากฏทั้งบนอ้อยปลูกและอ้อยตอ หากพบว่าอ้อยเป็นโรคหลังการเก็บเกี่ยวให้ไถทำลายแปลงอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรงทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งระบาด

และสะสมของเชื้อโรคต่อไป

2.5 ตรวจศัตรูพืช ครั้งที่ 1 มิตรชาวไร่ต้องหมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อสังเกตสัญญาณที่จะเกิดโรคและแมลงศัตรูอ้อย เมื่อแจอแล้วต้องรีบจัดการทันทีด้วยความระมัดระวัง โดยใช้วิธีเดียวกับอ้อยปลูกใหม่

2.6 ตรวจศัตรูพืช ครั้งที่ 2 เมื่ออ้อยอายุ 2-4 เดือน ให้ตรวจศัตรูพืชครั้งที่ 2 หากพบแมลงศัตรูอ้อยให้ทำตามขั้นตอนเดียวกับอ้อยปลูกใหม่

หลักการบำรุงรักษาอ้อยตอตามแบบฉบับมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มข้างต้นนี้ หากทำในเวลาที่ใช่และปริมาณที่ใช่ รับรองอ้อยตอของเราสร้างกำไรงาม ๆ ได้แน่นอน จะต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าอะไรต่าง ๆ ก็จัดมาเลยค่ะ สบายอยู่แล้วววววว

ข่าวปักหมุด