ทางเลือกด้านพลังงานทดแทนในปัจจุบันนั้น ได้รับความนิยมนำมาใช้ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและด้านการเกษตร นั่นก็คือ พลังงานจากธรรมชาติ ได้แก่ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการชลประทานในไร่อ้อยได้ ซึ่งเป็นพลังงานของแสงและพลังงานของความร้อนที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบตามลักษณะกระแสไฟฟ้าที่ได้ คือ
ระบบกระแสตรง (DIRECT CURRENT, DC)
และระบบกระแสสลับ (ALTERNATING CURRENT ELECTRICITY, AC)
ส่วนประกอบที่สำคัญในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในระบบชลประทานในไร่อ้อย
แหล่งพลังงานทดแทนที่นำมาใช้ร่วมกับระบบชลประทาน พบว่า พลังงานแสงอาทิตย์มีศักยภาพสูงและเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์สูงเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ทำให้อ้อยแห้งตายเนื่องจากขาดแคลนน้ำ
ข้อดี |
ข้อด้อย |
1. เป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่ใช้ไม่มีวันหมด |
1. แผงเซลล์และอุปกรณ์ส่วนควบคุมมีราคาแพง |
แหล่งน้ำที่นำมาใช้ในระบบชลประทาน เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อย โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ของตนเอง เช่น การขุดสระน้ำ และ/หรือการเจาะบ่อบาดาล
บ่อบาดาล ระดับน้ำบาดาลลึกไม่น้อยกว่า 50 เมตร ขนาดบ่อ 4-6 นิ้ว อัตราการสูบอยู่ที่ 5-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (ลบ.ม./ชม.) ซึ่งหากมีการสูบน้ำวันละ 8 ชั่วโมง สามารถคำนวณต้นทุนการสูบน้ำได้ ดังนี้
ระบบสูบน้ำและการส่งน้ำในพื้นที่โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วย แหล่งพลังงาน ต้นกำลังในการสูบน้ำ และแหล่งน้ำและการส่งน้ำเข้าแปลงอ้อย
แหล่งพลังงาน ได้แก่ แผงโซล่าร์เซลล์ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงมีหน่วยเป็นวัตต์
เครื่องสูบน้ำ เพื่อใช้เป็นต้นกำลังในการสูบและส่งน้ำเข้าพื้นที่ปลูกอ้อยการเกษตร
แหล่งน้ำและการส่งน้ำเข้าแปลงอ้อย ควรพิจารณาทั้งปริมาณและคุณภาพน้ำ เพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการและพื้นที่ปลูกอ้อย
ข้อมูลจาก :
https://www.kubotasolutions.com/knowledge/sugar_cane/detail/319
http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/144-6771.pdf
ภาพประกอบ :