- หลากสไตล์มิตรชาวไร่
- ศ., 14 ธ.ค. 61
คำว่า “ของเหลือ” หรือ “เศษ” มักมีจุดจบเดียวกันคือ “ถูกทิ้ง” เพราะถูกมองว่าไม่เกิดคุณค่า ไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บไว้ได้อีกต่อไป…มิตรชาวไร่ รู้หรือไม่ว่า หากเราตัดความคิดนี้ออกไป ก่อนจะทิ้งของเหลือ หรือเศษ อะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ให้เรามองหาประโยชน์และคุณค่าของสิ่งนั้นก่อนทิ้ง แล้วเราจะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้นไม่มากก็น้อยแน่นอน โดยเฉพาะ “วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร”
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในบ้านเรามีอยู่มากมายหลายประเภท และมีปริมาณมาก กระจัดกระจายทั่วประเทศ วัสดุเหลือใช้บางประเภทถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลายด้าน อาทิ ฟางข้าว แกลบ ใบมันสำปะหลัง เหง้ามันสำปะหลัง รวมไปถึงกากอ้อยหรือกากชานอ้อย (Bagasse) ที่เราชาวไร่อ้อยคุ้นเคยกันดี
กากอ้อย เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือสารอินทรีย์อีกประเภทหนึ่งที่มีดีกว่าการทิ้งเป็นของเหลือ เพราะกากอ้อยที่เหลือจากกระบวนการหีบอ้อยในโรงงานน้ำตาล ที่ปัจจุบันยังมีจำนวนอยู่พอสมควร มีราคาขายจากโรงงานตันละประมาณ 300 – 400 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพของกากอ้อย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้าน ดังนี้
จะเห็นว่ากากอ้อยหรือกากชานอ้อยมีประโยชน์หลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ดัดแปลงของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งกากชานอ้อยเป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมิตรผลเชื่อว่าประเทศไทยของเรามีศักยภาพเพียงพอในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานได้อีกมากมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้ของเหลือใช้ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากวัสดุเหลือทิ้ง นับว่าเป็นการทำของเสียไม่ให้เสียของอย่างแท้จริง
ขอบคุณที่มา:
https://www.mygreengardens.com/
http://siamvip.com/managefiles/fileUploads/VIPPLYWOOD/imgUploads/vip44.png
http://community.akanek.com/node/1567
https://csmmse.wixsite.com/etanol/farmacologia?lightbox=dataItem-j28yhfru