- ข่าวสารมิตรชาวไร่
- จ., 16 ต.ค. 66
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อ้อย เป็นพืชล้มลุกที่ให้คุณประโยชน์ได้มากมาย ทั้งประโยชน์โดยตรง และการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ประโยชน์โดยตรงก็มีทั้ง เป็นอาหารมนุษย์ อาหารสัตว์ ใช้เป็นเชื้อเพลิง รวมไปถึงใช้ปกคลุมบำรุงดิน ส่วนประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ การนำอ้อยไปผลิตเป็นน้ำตาล และผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ใช้ผลิตเป็นวัสดุก่อสร้าง ผลิตเยื่อกระดาษ ผลิตเอทานอล และอีกมากมายสารพัดประโยชน์
ดูเหมือนว่าส่วนประกอบของอ้อยทั้งต้นแทบจะไม่ต้องทิ้งเลยทีเดียว แต่ทำไม?
ทำไมในแต่ละปีช่วงหีบอ้อยเข้าโรงงาน มักมีใบอ้อยจำนวนมากที่ถูกเผา หรือฟันทิ้งหลังฤดูกาลตัดอ้อย เขาเหล่านั้นทราบหรือไม่ว่า กำลังเผาทำลายสิ่งเหล่านี้
เผา “เงิน” ที่ควรจะได้จากการขายใบอ้อยเป็นเชื้อเพลิง
เผา “เชื้อเพลิง” ที่สามารถนำไปผลิตไอน้ำสร้างกระแสไฟฟ้าได้
ทำลาย “วัสดุปกคลุมดินชั้นดี” ที่จะช่วยคืนธาตุอาหารหลายชนิด คงความชุ่มชื้น และคลุมวัชพืชให้แก่ดิน
ทำลาย “อาหารสัตว์” ที่ช่วยให้สัตว์อิ่มท้อง และเจริญเติบโตได้อีกหลายร้อยหลายพันตัว
ใช่แล้วค่ะ ยอดอ้อยหรือใบอ้อย เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของสัตว์กินหญ้าอย่างโค กระบือ ม้า เพราะใบอ้อยมีคุณค่าโภชนะที่ใกล้เคียงกับฟางข้าว มีโปรตีน 4-6% นอกจากนี้ยังมีเยื่อใยส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าฟางข้าวอีกด้วย ที่สำคัญใบอ้อยมีความหวาน ทำให้น่ากินมากกว่าฟางข้าวซะอีก
มีเกษตรกรหลายรายค่ะที่ปลูกอ้อยแล้วนำใบอ้อยไปใช้ด้านปศุสัตว์ โดยเฉพาะช่วงแล้งที่เกิดปัญหาขาดแคลนหญ้าสด แต่เป็นระยะที่มีใบอ้อยจำนวนมาก เกษตรกรที่ปลูกอ้อยและเลี้ยงสัตว์จึงพลิกวิกฤตเป็นโอกาสนำยอดอ้อยสดมาทำเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งวิธีทำมีดังนี้ค่ะ
ในทางปฎิบัติที่เกษตรกรนำใบอ้อยไปใช้เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะยอดอ้อยสด และเสริมด้วยอาหารข้น ส่วนจะใช้ยอดอ้อยสดในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เลี้ยงสัตว์ ดังนี้
แม้ใบอ้อยจะจัดเป็นอาหารหยาบคุณภาพต่ำ แต่มีเยื่อใยสูง โคกระบือสามารถย่อยและใช้ประโยชน์จากสารเยื่อใยเหล่านี้ได้ด้วยจุลินทรีย์ในกระเพาะส่วนของรูเมน เช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์ได้จากเยื่อใยในอาหารหยาบชนิดอื่น ๆ ใบอ้อยเมื่อนำมาวิเคราะห์จะมีส่วนประกอบทางเคมีแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดหรือพันธุ์ของอ้อย อายุการตัด สภาพดินฟ้าอากาศ การใส่ปุ๋ย และการจัดการต่าง ๆ ใบอ้อยจะมีคุณค่าทางโภชนะต่ำกว่าหญ้า และใกล้เคียงกับฟางข้าว สามารถใช้เป็นอาหารโค-กระบือได้ทั้งในลักษณะสด แห้ง และหมัก แต่ต้องใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือวัตถุดิบอาหารอื่น ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะให้สูงขึ้น ดังนั้น ในการนำใบอ้อยมาเลี้ยงโค-กระบือ ควรต้องปรับปรุงคุณภาพก่อน ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้ปฎิบัติ เพื่อให้สัตว์ได้รับโภชนะเพียงพอกับความต้องการ
มากด้วยประโยชน์ขนาดนี้แล้ว มิตรชาวไร่ที่ยังเผาใบอ้อยกันอยู่ ไม่คิดจะเปลี่ยนใจเลยเหรอคะ อย่างน้อย ๆ ใบอ้อยเหลือทิ้งเหล่านี้ สามารถนำออกมาใช้ในช่วงที่ขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ได้ ที่สำคัญเป็นการนำผลพลอยได้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี จริงไหมคะ?
ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพจาก
https://www.youtube.com/watch?v=Bd_XtGYv7m0