สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ ช่วงสภาพอากาศร้อน แล้ง ฝนทิ้งช่วงเช่นนี้ เรื่องที่สร้างความกังวลใจให้แก่มิตรชาวไร่คงหนีไม่พ้นเรื่องของหนอนกออ้อย แมลงศัตรูอ้อยที่ระบาดได้ทั่วไปโดยเฉพาะช่วงแล้ง ทำให้อ้อยเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งมิตรชาวไร่ต้องหมั่นสำรวจอ้อยในแปลงเพื่อป้องกันการเข้าทำลายอ้อยของหนอนกออ้อยจนถึงขั้นรุนแรง
ลักษณะของอ้อยที่ถูกหนอนกออ้อยรุกรานคือ ยอดจะแห้งตาย หากดึงยอดที่แห้งตายจะหลุดออกมาง่ายและอาจมีกลิ่นเหม็นเน่า อ้อยแตกแขนง อ้อยแตกเป็นพุ่มที่บริเวณยอด หากหนอนเข้าทำลายที่บริเวณฐานหรือโคนลำจะมีรอยเจาะเป็นรู หากผ่าลำดูจะพบว่ามีหนอนอยู่ข้างใน จะส่งผลให้ลำต้นอ้อยแตก และการเจริญเติบโตทางลำต้นชะงักลง
เมื่อมิตรชาวไร่สำรวจเจออาการดังกล่าว ต้องรีบจัดการทันที วิธีกำจัดหนอนกออ้อยตามแบบฉบับมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มคือ การใช้วิธีชีวภาพโดยปล่อยแตนเบียนเข้าทำลายนั่นเอง
แตนเบียนที่เราแนะนำคือ แตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่า แมลงขนาดเล็กที่จะไปวางไข่ในไข่ของผีเสื้อหนอนกออ้อย ทำให้ไข่ของหนอนกออ้อยเปลี่ยนเป็นสีดำ และไม่ฟักเป็นหนอน
สำหรับช่วงเวลาเหมาะสมที่ควรปล่อยแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
หลังจากนั้นให้สังเกตอ้อยอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลหลังจากปล่อยแตนเบียนเข้าทำลายหนอนกออ้อย หัวใจสำคัญคือ มิตรชาวไร่ต้องหมั่นสำรวจและสังเกตอ้อยในแปลง เพราะเมื่อใดที่อ้อยเกิดความผิดปกติ จะได้หาสาเหตุและแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ดีกว่าปล่อยอ้อยให้เจริญเติบโตตามยถากรรม มารู้ตัวอีกทีคืออ้อยเน่าตายเสียหาย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา เพื่อกำจัดอ้อยทิ้งโดยไม่ได้ผลผลิตอะไรเลย
ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพ :