สวัสดีค่ะ มิตรชาวไร่โซเชียลทุกคน ที่เรียกว่าโซเชียล เพราะเราสื่อสารกันผ่านเว็บไซต์มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ หลักการแนวคิดปลูกอ้อยแบบเกษตรสมัยใหม่จากมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ที่เสิร์ฟข้อมูลให้ถึงมือพี่น้องมิตรชาวไร่ผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ มีมือถือ และมีสัญญาณเน็ต ท่านก็สามารถเข้าเยี่ยมชมเราได้ผ่าน www.mitrpholmodernfarm.com นอกเหนือจากวารสารมิตรชาวไร่ที่ส่งถึงมือถึงบ้าน ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามวารสารมิตรชาวไร่ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มได้เช่นกันค่ะ
ทักทายกันพอหอมปากหอมคอนะคะ พูดถึงบรรยากาศในประเทศช่วงนี้เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 เป็นช่วงที่รัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งวัคซีนในช่วงนี้ที่ไทยใช้คือ Sinovac กับ AstraZeneca และกำลังจะนำเข้าวัคซีนตัวอื่น ๆ ตามมา เพื่อให้เพียงพอต่อประชาชนทั่วประเทศ ให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ต่อสู้กับโควิดไปด้วยกันค่ะ
เข้าใจว่าพี่น้องมิตรชาวไร่หลายคนอาจเกิดความกังวลเรื่องของการแพ้วัคซีน ฉีดไปแล้วจะมีอาการข้างเคียง อันตรายถึงขั้นชีวิต แน่นอนว่าไม่ผิดค่ะที่ท่านจะคิดเช่นนั้น แต่อยากให้พิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกันถึงประโยชน์จากวัคซีนที่เราต้องฉีด เพราะวัคซีนทุกยี่ห้อ มีคุณสมบัติสร้างภูมิคุ้มกันให้โอกาสที่เราจะติดเชื้อน้อยลง หรือลดความรุนแรงของโรคเมื่อได้รับเชื้อ ซึ่งเมื่อลดโอกาสติดเชื้อ การแพร่กระจายของโรคก็ลดลง เพราะอย่างที่เราทราบกันว่า คนที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการเลย โอกาสแพร่กระจายโรคน้อยกว่าคนที่มีอาการ
แน่นอนว่าหากเปอร์เซ็นต์การได้ฉีดวัคซีนของบ้านเราสูงขึ้นมากเท่าไหร่ โอกาสที่ชีวิตความเป็นอยู่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็มีมากขึ้นเท่านั้น เศรษฐกิจที่เซื่องซึมซบเซา ก็จะกลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้น ลูกหลานของเราจะได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาเช่นเดิม ระบบสาธารณสุขก็จะได้กลับไปดูแลรักษาโรคอื่น ๆ ต่อไปค่ะ
สำหรับเปอร์เซ็นต์การแพ้วัคซีนของคนไทยที่ฉีดไปแล้วกว่าล้านคน พบว่า วัคซีน Sinovac เจออาการขาอ่อนแรงชั่วคราว 0.008% (82 ต่อล้านคน) ส่วนอาการที่แพ้รุนแรง คือ 0.0012% (12 ต่อล้านคน) ขณะที่ AstraZeneca มีอาการ ไข้ เพลีย ปวดหัว คลื่นไส้ 80% อาการแพ้รุนแรง 0.0016% (16 ต่อล้านคน) จะเห็นว่าเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำมาก ๆ เมื่อเทียบกับจำนวนคนที่ฉีดไปแล้วกว่าล้านคน รวมถึงฉีดไปแล้วหลายประเทศทั่วโลก
หากมิตรชาวไร่หรือคนในครอบครัวอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้แสดงความจำนงค์เพื่อขอรับการฉีดวัคซีนได้ ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้
ถ้าพบว่ารายชื่อตกหล่น ให้ติดต่อไปที่โรงพยาบาลที่มีประวัติการรักษา เพื่อให้โรงพยาบาลส่งข้อมูลของท่านให้ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขต่อไปค่ะ
เมื่อขั้นตอนการขอรับวัคซีนพร้อมเรียบร้อย ต่อไปคือการเตรียมตัวก่อนและหลังฉีดวัคซีน ซึ่งต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนี้ค่ะ
สำหรับพี่น้องมิตรชาวไร่ที่อยู่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปอายุ 18-59 ปี ให้ติดตามข่าวสารอีกครั้งว่าต้องลงทะเบียนหรือไปยื่นขอฉีดวัคซีนได้เมื่อไหร่ ซึ่งตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้คาดว่าน่าจะช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้
สำหรับใครที่ไปฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว เกิดข้อสงสัยว่า ฉีดแล้วถอดหน้ากากอนามัยได้หรือไม่….ไม่สมควรอย่างยิ่งนะคะ เพราะวัคซีนตอบสนองร่างกายแต่ละคนต่างกัน บางรายป้องกันการติดเชื้อได้ บางรายลดความรุนแรงของโรค ไม่ใช่ว่าฉีดวัคซีนแล้วจะไม่ติดโควิด-19 เลย ดังนั้นเรายังควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัดในระยะนี้ รอจนกว่าคนไทยจะได้รับวัคซีนกัน 100% และไม่มียอดผู้ติดเชื้อรายวันให้ปรากฏเสียก่อน ค่อยวางใจได้ว่า ถอดหน้ากากอนามัยแล้วปลอดภัยค่ะ
ขอบคุณข้อมูล-ภาพ