- มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม
- พ., 10 ก.ค. 62
สวัสดีค่ะพี่น้องมิตรชาวไร่ ในช่วงฤดูฝนของทุกปี เป็นช่วงที่อ้อยจะได้รับน้ำจากฝน รวมถึงเป็นช่วงที่มิตรชาวไร่จะได้มีโอกาสเก็บกักน้ำในบ่อน้ำเสริมอ้อยที่ขุดไว้ในไร่เพื่อใช้ในไร่อ้อย
หลายไร่วางแผนจัดการน้ำได้อย่างดี โดยสร้างบ่อเก็บน้ำขึ้นมา เพื่อเก็บน้ำเสริมอ้อยในหน้าแล้ง เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตได้ตามวัย
โดยเฉลี่ยแล้วอ้อยที่เราปลูกต้องการน้ำตลอดฤดูกาลประมาณ 1,200 -1,600 มิลลิเมตร ส่วนปริมาณน้ำฝนของประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 มิลลิเมตรต่อปี นั่นหมายความว่า ปริมาณน้ำเสริมอ้อยที่เราต้องจัดการเท่ากับ 500 มิลลิเมตร
จากข้อมูลข้างบน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของน้ำที่อ้อยต้องการ หักลบจากค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนในบ้านเราแต่ละปี เราต้องนำตัวเลขนี้มาออกแบบแหล่งน้ำในแปลงอ้อย เพื่อให้น้ำเสริมอ้อยนอกฤดูฝน ซึ่งปัจจัยหลักของน้ำที่จะมาเสริมฝนคือ ต้นทุนของน้ำที่เราออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นสระน้ำ บ่อบาดาล หรือแหล่งน้ำตามลำห้วย
ตัวอย่างการออกแบบหรือหาแหล่งน้ำเสริมนอกฤดูฝนที่มีขนาดที่เหมาะสม ดังนี้ค่ะ
ถ้าต้องการน้ำเสริมอ้อย 500 มิลลิเมตร หรือประมาณ 6 ครั้งต่อฤดูกาล เฉลี่ยครั้งละ 80 มิลลิเมตร หรือประมาณ 100 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งการออกแบบน้ำชลประทานในไร่อ้อย ต้องเลือกวิธีที่ใช้น้ำปริมาณสูงสุดมาออกแบบ โดยการให้น้ำเสริมอ้อยส่วนมากที่มิตรผลใช้มี 2 แบบ คือ
ถ้าเรามีพื้นที่ 10 ไร่ ต้องให้น้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร นี่คือตัวเลขที่ต้องสร้างแหล่งน้ำ ทั้งนี้โดยปกติเราไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ทั้งหมด เนื่องจากมีน้ำนอนก้นโดยประมาณ 20% ที่นำมาใช้ไม่ได้ เราจึงต้องออกแบบปริมาณเพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรนั่นเองค่ะ
ที่มา : วารสารมิตรชาวไร่