หน้าแรก

การปลูกอ้อยแบบฉบับมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม นอกจากหลักสี่เสาที่สำคัญ ทั้งพักดินปลูกถั่ว สลับอ้อย  ,การควบคุมแนวล้อวิ่ง, การไถพรวนให้น้อย  และการตัดอ้อยสดไว้ใบคุลมดิน เป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยให้มิตรชาวไร่ ลดต้นทุนการผลิต ลดเวลาการทำงาน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ แต่หลักสี่เสาจะสมบูรณ์ไม่ได้เลยหากขาดปัจจัยเสริมที่สำคัญอีกหนึ่งปัจจัยคือ “น้ำ”

 “น้ำ” หรือชลประทานในไร่อ้อย (Irrigation) เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้หลักสี่เสาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปกติอ้อยต้องการน้ำ ประมาณ 1,200-1,600มิลลิเมตรต่อปี แต่สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทำให้ปริมาณฝนไม่เพียงพอ และยังกระจายตัวไม่สม่ำเสมอทำให้อ้อยกระทบแล้งแทบทุกปี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ผลผลิตอ้อยลดลง

ดังนั้นการเตรียมเรื่องชลประทานตามหลักมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม จะช่วยทำให้การจัดการน้ำ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขอแนะนำการจัดหาแหล่งน้ำเสริมอ้อยที่เหมาะสมกับมิตรชาวไร่ ดังนี้

1. การขุดสระ

มิตรผลมีนโยบายส่งเสริมการขุดสระให้แก่มิตรชาวไร่ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร ตามมาตรฐานของกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ มีปัญหาเรื่องชั้นดินเป็นกรวดทรายที่ไม่อุ้มน้ำ เรื่องการขุดสระจึงไม่ใช่ความสำคัญลำดับแรกที่พื้นที่นี้ต้องทำ ถ้าจุดไหนที่เราไม่สามารถขุดสระน้ำได้ ต้องมองหาศักยภาพอื่นต่อไป เช่น น้ำใต้ดิน เป็นต้น

2. น้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล

003.jpg

น้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล คือน้ำที่อยู่ใต้ดินแข็งหรือหิน หรือน้ำที่ลึกจากผิวดินประมาณ 15 เมตร น้ำบาดาลมีหลายชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมที่มิตรชาวไร่จะนำน้ำชั้นไหนไปใช้ ปัจจุบันหลายไร่ใช้การขุดบ่อบาดาลแบบแรงดัน เจาะในช่วงไม่เกิน 50 เมตร เนื่องจากต้นทุนการเจาะบ่อดาลค่อนข้างสูง

อย่างไรก็ดี หลายคนอาจมองว่า ให้อ้อยได้รับน้ำจากน้ำฝนก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริง ผลผลิตอ้อยที่ได้ จากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว แตกต่างจากไร่อ้อยที่ได้รับน้ำเสริม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี น้อยกว่าปริมาณน้ำที่อ้อยต้องการ หรือมีความแปรปรวนไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ฉะนั้นแล้วหากมิตรชาวไร่มีการบริหารจัดการเรื่องน้ำอย่างรัดกุม เพียงพอต่อความต้องการของอ้อยในแต่ละช่วงวัย ผลผลิตที่จะได้รับเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวย่อมงดงามกว่าแปลงอ้อยที่ขาดน้ำแน่นอน

004.jpg

ที่มา : วารสารมิตรชาวไร่

 

ข่าวปักหมุด