สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ การจัดการวัชพืชในไร่อ้อย เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลอ้อย โดยเฉพาะอ้อยตอ ซึ่งเป็นกำไรสำคัญของคนปลูกอ้อย เมื่อเป็นกำไร ก็ยิ่งต้องดูแลประคบประหงมกันให้ดี จริงไหมล่ะคะ?
แน่นอนว่าการกำจัดวัชพืช สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น ตัดอ้อยสดไว้ใบอ้อยคลุมดิน วิธีกำจัดวัชพืชแนวรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ช่วยลดและชะลอการงอกของวัชพืชด้วยวิธีธรรมชาติ ทิ้งใบอ้อยให้คลุมดิน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีวิธีกำจัดวัชพืชด้วยการใช้เครื่องจักร รวมถึงการใช้สารกำจัดวัชพืช หรืออาจใช้หลายวิธีผสมผสานกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ประสบการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ
หลายคนสงสัยว่า แล้วการกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย ควรทำช่วงไหน ทำอย่างไร จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด….มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มมีคำตอบให้ ดังนี้ค่ะ
ช่วงนี้ เราควรกำจัดวัชพืชที่เหลือในแปลงให้หมด ไม่ควรปล่อยให้วัชพืชเติบโต จนไม่สามารถทำกิจกรรมในแปลงได้ โดยให้พิจารณาจากชนิดของวัชพืชและการเจริญเติบโตของอ้อย ดูว่าวัชพืชเหล่านั้นเป็นตระกูลอะไร และดูด้วยว่าอ้อยของเราเติบโตแค่ไหน ที่สำคัญควรเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชที่มีผลตกค้างในดินหรืออ้อยให้น้อยที่สุด
ช่วงนี้ควรใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก หรือพ่นทับใบ ให้ทำหลังตัดทันที โดยพิจารณาจากชนิดของวัชพืช และปัจจัยแวดล้อม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช เช่น เลือกใช้ สารอินดาซิแฟลม อัตรา 20 ซี.ซี. และ ซัลเฟนทราโซนอัตรา 250 ซี.ซี. ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อไร่ ในพื้นที่สามารถให้น้ำได้และสามารถพ่นทับใบอ้อยได้ (ก่อนอ้อยคลี่ใบ) เลือกใช้ สารเพนดิเมทาลิน อัตรา 400 ซี.ซี. และ อิมาซาพิค
ช่วงนี้ให้ใช้ใบอ้อยคลุมแปลง และใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนและหลังงอก ในช่วงหลังใส่ปุ๋ยแต่งหน้า และให้น้ำหรือ ใช้สารกำจัดวัชพืชหลังงอก พิจารณาจากชนิดของวัชพืช และการเจริญเติบโตของอ้อย (พ่นเป็นจุด) เช่น ใช้สารอินดาซิแฟลม อัตรา 20 ซี.ซี. และ ซัลเฟนทราโซน อัตรา 250 ซี.ซี. ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อไร่ ในพื้นที่สามารถให้น้ำได้ เพื่อควบคุมวัชพืช หรือ ผสมสารไตรคลอเพอร์ อัตรา 125 ซี.ซี. ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อไร่ เพื่อกำจัดวัชพืชใบกว้าง และเถาเลื้อยหรือ ผสมสารกลูโฟซิเนต แอมโมเนียม อัตรา 700 ซี.ซี. ผสมน้ำ100 ลิตรต่อไร่ เพื่อกำจัดวัชพืชใบแคบ
อย่างไรก็ดี การพิจารณาในเรื่องของวิธีที่มิตรชาวไร่แต่ละคนจะเลือกใช้ ไม่เหมือนกันเสมอไป ด้วยความแตกต่างด้านพื้นที่ สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ รวมถึงปัจจัยที่เหมาะสมต่าง ๆ ทำให้การเลือกวิธีและช่วงเวลาอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยภาพรวม หากยึดตามช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น นับว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมในการดูแลกำจัดวัชพิชในไร่โดยภาพรวมได้เป็นอย่างดีค่ะ
ที่มา : วารสารมิตรชาวไร่ฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน 2563
https://www.technologychaoban.com/
https://www.mitrpholmodernfarm.com/