หน้าแรก

สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ อย่างที่ทราบกันดีว่า ทั่วโลกเกิดการร่วมมือเพื่อป้องกันปัญหาภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change กรมวิชาการเกษตรเอง ก็ได้ศึกษาวิจัยพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนไว้ในพืชและในดิน

จากการศึกษาวิจัยพบว่า อ้อย พืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 10.8 ล้านไร่ มีโอกาสที่จะกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบปลูกอ้อยได้ และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงและนำมาสะสมในรูปของมวลชีวภาพในส่วนต่าง ๆ ของอ้อย

โดยจากการประเมินศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนในพืช พบว่า อ้อยแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของพืช ตำแหน่งใบ สภาพพื้นที่ปลูกและการจัดการดินและน้ำ

งานวิจัยสรุปได้ว่าการปลูกอ้อย 1 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.1 ตัน สามารถดูซับคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปส่วนเหนือดินอ้อยเฉลี่ย 3,698 kg CO2 หรือช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ 13,559 kg CO2  โดยอ้อย 1 ตัน สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 581 kg CO2 ”

ประเทศไทยที่มีพื้นที่ปลูก 10.8 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 7.21 ตัน จะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศมาอยู่ในรูปของลำอ้อยทั้งหมดได้ 215.1 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การเลือกพันธุ์อ้อยและการจัดการแปลงปลูกที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิตของอ้อยแล้วยังสามารถเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพืชได้อีกด้วย

จากงานวิจัยบ่งชี้ได้ว่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณชีวมวล ดังนั้นการปลูกอ้อยให้ได้อินทรีย์คาร์บอนจำนวนมากจึงต้องใช้หลักการเดียวกันกับการเพิ่มผลผลิต ซึ่งมีลักษณะทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง คือ จำนวนลำกับความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ และน้ำหนักลำ 

ดังนั้นเมื่อพิจารณาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนสูงควรเป็นพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตสูง และมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต ส่งผลให้มีการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและกักเก็บคาร์บอนได้สูงขึ้น 

003.jpg

ขอบคุณที่มาข้อมูล-ภาพ

https://www.thairath.co.th/

https://www.technologychaoban.com/

 

ข่าวปักหมุด