แม้ว่าการติดตามข่าวสารและสถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคมจะเป็นเรื่องที่ดี แต่การติดตามข่าวสารที่มากไป โดยเฉพาะข่าวสารที่เมื่อรับรู้แล้วจะทำให้เกิด ความเศร้า ความกังวล หรือความโกรธ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งมิตรชาวไร่ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง เมื่อเสพข่าวที่สะเทือนอารมณ์มาก ๆ ท่านมักจะประสบกับอารมณ์เหล่าหรือไม่
- อาการทางร่างกาย: ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ นอนไม่หลับ
- อาการทางจิตใจ: วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว ก้าวร้าว สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป เบื่อหน่าย หรือท้อแท้
กรมสุขภาพจิตได้แนะนำหลัก 3 ส. สอดส่อง ใส่ใจรับฟัง และส่งต่อ เพื่อดูแลจิตใจผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งคนรอบข้างคือกลไกที่สำคัญที่จะช่วยให้ครอบครัวของผู้เสียเหล่านั้น สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนที่เคยเป็น โดยคนรอบข้างสามารถปฏิบัติตามหลัก 3 ส. สอดส่อง ใส่ใจรับฟัง และส่งต่อ ดังนี้
- สอดส่อง: เพื่อรับรู้ถึงสถานการณ์ และวิเคราะห์ว่าควรให้ความช่วยเหลืออย่างไร
- ใส่ใจรับฟัง: ในบางครั้ง การรับฟังก็เป็นวิธีการช่วยบรรเทาความทุกข์ทางใจของผู้ประสบปัญหาที่ดี
- ส่งต่อ: หากพบว่าอาการเศร้าโศกไม่ทุเลา สามารถส่งต่อด้วยการแนะนำบริการทางสุขภาพจิต เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือหน่วยบริการใกล้บ้านเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
นอกจากนี้ยังมี 4 วิธีการดูแลจิตใจ สำหรับผู้รับรู้ข่าวสารที่สะเทือนอารมณ์ ซึ่งอาจเกิดความเศร้า ความเครียด หรือความโกรธได้เช่นกัน โดยผู้รับรู้ข่าวสารสามารถใช้หลัก 4 วิธีปฏิบัติ เพื่อลดความตระหนกจากการรับฟังข่าวสารสะเทือนอารมณ์ได้ ดังนี้
- ให้ความสำคัญกับสติของตนเองทุกครั้งเมื่อต้องรับรู้ข่าวสาร สังเกตอารมณ์ของตนเองและผลกระทบจากอารมณ์นั้น และติดตามจิตใจของตนเองสม่ำเสมอ
- จัดสรรเวลาติดตามข่าวสารอย่างพอดี
- พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ หันเหความสนใจจากข่าวสารไปเรื่องอื่นบ้าง ละเว้นการรับรู้ข่าวสารที่ส่งผลต่อความเครียดชั่วคราว ไม่ละเลยหน้าที่ของตนเอง ทั้งการทำงาน การเรียน และการใช้เวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัว
- พักผ่อนและคลายความเครียด ซึ่งทำได้โดย การนอน ออกกำลังกาย ฝึกโยคะ ทำสมาธิ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจคลายเครียด เป็นต้น
ขอบคุณที่มา
อ้างอิง: กรมสุขภาพจิต, ส.ค. 65
https://www.princhealth.com/
https://www.bangkokhospital.com/